Portfolio Review | December 2016 | Wanchalearm Kewsawang

จากที่มีนักออกแบบรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ส่ง Portfolio ให้จอมรีวิว เราได้คัดเลือกตัวแทน ประจำเดือน ธันวาคม ที่มีผลงานที่น่าสนใจ และมีแนวทางให้พัฒนาต่อได้เยอะและน่าสนใจ

คนแรกของโครงการ 1 Month 1 Review ที่ได้รับโอกาสประจำเดือน ธันวาคม 2016 คือ คุณ วันเฉลิม แก้วสว่าง ค่ะ ขอบคุณที่สนใจ และ อนุญาติให้นำมาเปิดเผลสู่สายตาชาว DreamAction.co นะคะ

รีวิวของจอม บอกไว้ก่อนว่าละเอียดยิบๆๆๆเลยค่ะ แต่นอกจากอยากให้มีประโยชน์ต่อน้องที่ได้รับเลือกเพื่อเอาไปพัฒนาต่อ จอมหวังว่า คนอื่นๆจะได้เรียนรู้ประเด็นเหล่านี้เพื่อไปพัฒนา Portfolio ได้อีกด้วยเช่นกัน

เรามาเก่งไปด้วยกันนะ!

อ้อ! แล้วเพื่อความครบถ้วนของการรีวิว กรุณาดูไฟล์ให้ครบตามรายชื่อไฟล์ประกอบในการรีวิวด้านล่างด้วยนะคะ

1.VDO Review | วีดีโอ
2.Portfolio Review Metrics | ตารางรีวิว
3.Portfolio’s performance score | แผนภาพสรุปผลคะแนน
4.Review Summary | สรุป
*ไฟล์ที่ 5 คือ Redline PDF หรือ Portfolio ที่ทำการคอมเม้นหน้าต่อหน้า ตามที่แสดงใน VDO จะทำการจัดส่งให้เจ้าของ Portfolio ไฟล์ในข้อ 2,3,4 โดยจะอีเมลเป็นการส่วนตัวถึงเจ้าของผลงาน หากไม่ได้รับในเวลา 2 วัน กรุณาติดต่อได้เลยค่ะวันนี้ขอบคุณ คุณ วันเฉลิม แก้วสว่าง ที่ส่งมารีวิวและให้แสดงในเว็บค่ะ

1 month 1 portfolio review รีวิว พอร์ทฟอลิโอ สถาปัตย์

เริ่มReview..!!

1.VDO Review : December 2016

Portfolio ของ วันเฉลิม แก้วสว่าง เวอชั่น November 2016

 

2.Review Metrics | ตารางผลการประเมิณ

1 month 1 portfolio review รีวิว พอร์ทฟอลิโอ สถาปัตย์

3.Portfolio’s performance score | แผนภาพสรุปผลคะแนน

1 month 1 portfolio review รีวิว พอร์ทฟอลิโอ สถาปัตย์

 

4.Review Summary | สรุป

“Potential Within”

ชื่อผู้ส่่ง : Wanchalearm

น้องวันเฉลิม มีข้อดี ความตั้งใจ และ มีศักยภาพของงานอยู่ และโดยรวมมีงานเยอะ แต่อยากให้ มาตั้งหลักให้เวลา และวางกลยุทธ พร้อมพัฒนาใหม่ในเรื่องเหล่านี้ค่ะ ตามลำดับความสำคัญ

1.Story-telling

เพราะมันทำให้คนอ่านเข้าใจว่าเราอยากบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเรา เกี่ยวกับงาน มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำ Portfolio งานน้องมี แต่ต้องเล่าเรื่องให้คนเข้าใจ และถ่ายทอดผ่านกราฟฟิค และการจัดเรียงอย่างดีด้วยค่ะงานเดียวกัน แต่ละคนเอามาเล่าก็ไม่เหมือนกัน การเล่ามันใช้ทั้งกราฟฟิค ไไดอะแกรม ตัวอักษร ภาพทัศนียภาพ และ ตัวอักษร การเล่าเรื่องไม่ได้หมายถึงการเขียนเรียงความบรรยายงาน แต่หมายถึงการเลือกว่า

  • ภาพรวม เราอยากบอกอะไร ทั้งเล่ม
  • แต่ละงาน เราจะเล่าอะไร แล้วคิดว่าแต่ละงานจะเล่าประมาณกี่หน้า งานไหนเยอะสุด งานไหนเน้น งานไหนรองลงมา ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกงาน เยอะไป มันซ้ำ มันต้องกระชับ ได้ใจความ (Concise)

2.Sequence

เลือกงานที่ดึงคนอ่านไปไว้ข้างหน้า เค้าจะได้อยากดูต่อ และดูจนจบ พยายามสร้าง pace ในการอ่านงานเรา บางงานยาว บางงานสั้น

3. Alignment

อันนี้เจอเต็มไปหมด มันไม่ตาย ถ้าทำไม่ดี แต่งานดี ต้องไม่พลาด alignment ยิ่งเป็นสถาปนิก ใส่ใจเรื่อง Grid มากมากเวลาจัดหน้า ถ้าทำงานออฟฟิส เค้าจะสังเกตว่าเรามีความเรียบร้อยกับเรือ่งเล็กน้อยแบบนี้แค่ไหน เพราะถ้าเราดูแลรายละเอียดเองได้ เค้าก็ไม่ต้องห่วง ปล่อยให้เราดูแลอะไรเองได้มันสะท้อน system, detail-oriented เพราะไม่ใช่แค่พี่ หรือที่ที่พี่ทำ แต่ที่บริษัทหลายที่ คนอื่น พอมานั่งคุยกัน ไม่มีใครไม่มองเรื่องนี้เวลาดูพอร์ทค่ะ

4.Space / Composition

อันนี้ลองศีกษาดีดีค่ะ ต้องมีระบบที่วางให้ชัดเจน

5.Usability

อันนี้บอกตรงๆ ว่าอ่านแล้วงงค่ะ คือ

  • ขวาไปซ้าย รอบแรกไม่เข้าใจเลย ก็งงๆ ว่าทำไมมันงง จนพี่มาดูหลายรอบ แล้วพยายามจะเข้าใจ คือ ปกติคนเค้าดูพอร์ท เค้าไม่ได้ดูหลายๆรอบแบบที่พี่พยายามจะหาข้อพัฒนา ปรับปรุงให้น้อง เราควรจะทำให้เค้าเข้าใจง่ายๆแต่แรกค่ะ
  • ไม่มีความสม่ำเสมอ บางทีมี Project ขวา บางที ซ้าย บางทีหายไป สิ่งที่อยากจะขอแนะนำมากมากเลยค่ะ คือพยายามสร้าง Pattern ในการอ่าน ลองคิดว่าเราอยากให้คนอ่านจากไหนไหน อ่านยังไง แล้วถ้าเราสร้างระบบแล้ว ก็ทำตามนั้น ลองนึกถึง App ในมือถือเรา ถ้ามันเปลี่ยน interface ทุกหน้า แล้วย้ายปุ่ม น้องจะต้องใช้เวลาหามากขึ้น ถูกไหม? เหมือนกันเลย

แบบนี้ คือ คนต้องกลอกตาไปด้านนู้นที่ นี้ที กลับไปกลับมา ช่วยคนอ่านให้เค้า เข้าใจข้อมูลเราง่ายๆ คิดว่า โอกาสที่เค้าดู Portfolio เรามันไม่ได้มีนาน “เราจะทำยังไง ให้เค้าเข้าใจงานเราได้ดีในเวลาอันสั้น?”

6.Re-work

ไม่ต้องกลัวเรื่องการสร้างงานเพิ่ม ปรับdiagram เพื่อจะเล่างานของเรา ถ้ามันต้องทำ แต่เลือกงานที่ต้องปรับแล้ววางกลยุทธ วางเรื่อง วางสตอรี่บอร์ด ว่าจะแก้ จะเล่ายังไงดีค่ะ งานน้องมีหลายงาน ที่พี่ว่าอยากให้ย้ายจากหลังมาหน้า แล้ว เล่าใหม่ จัดกลุ่มใหม่ได้อีก มีงานแล้ว มีของ ดึงข้อดี เรื่องดีดีของงานออกแบบเรา ออกมาให้คนอ่าน เห็นได้ชัดเจนที่สุดนะคะ

7.Graphic / Aesthetic

ลองดูตัวอย่าง Magazine เยอะๆ แล้ว “ถอดแบบ” เค้าดูว่า ทำไมมันถึงดี ทำไมถึงไม่ดี เอาให้ได้ Principle ของมันออกมา แล้วเอาปรับใช้ ดูบ่อยๆ แล้วคิดว่า ของเราเป็นแบบไหนจะดีที่สุด เหมาะที่สุดกับงานเรา ไม่ได้บอกให้ลอกอะไรแบบนั้นนะคะ ให้ไปศึกษาว่าอะไรดี ไม่ดี และอันไหนมีศักยภาพเอามาปรับให้เหมาะกับงานเรา กับตัวเราค่ะ เรื่องของกราฟฟิค ต้องดูเยอะๆ ดูให้ไกลตัวเราออกไป ไปเปิดหนังสือ Graphic design, brochure design, magazine ดีดี

ลองคิดว่า หนังสือของเรา จะต้องโปร และดูดีแบบระดับนั้น ก็ตั้งเป้าหไว้ และดูแบบมาตรฐานนั้นเป็นแบบอย่าง เพราะเรามีต้นทุน แต่ก็ต้องต่อยอดพัฒนา ให้มันดีกว่าเดิม และทำให้คนอื่นเข้าใจเรา ซึ่งจะให้คนอื่นเข้าใจเรา เราก็ต้องคิดว่า คนเค้าจะรู้สึกยังไง จะมีประสบการณ์ยังไงในการดูแต่ละหน้า ละ ทั้งเล่มค่ะ

คำแนะนำเพิ่มเติมในประเด็นที่ควรไปใช้ เพื่อพัฒนา

  • ไปหัดใช้ Adobe Indesign นะคะ เพราะมันจะช่วยแก้ปัญหา เรื่อง Alignment, Format setting, Snap และ ความไม่สม่ำเสมอของแต่ละหน้า และช่วยให้เราทำงานเร็วกว่าเดิม 200% (แม้อาทิตย์แรกที่น้องลอง น้องจะทำช้ากว่าปกติ แต่พอทำเป็น น้องจะทำเร็วก่าคนที่ใช้ Photoshop, Illustrator ในการทำรูปเล่ม) มันจะทำให้น้องทำงานแบบโปร พอทำเป็น สร้าง Alignment grid ใน Indesign แล้ว Respect มัน ไว้จะทำ Indesign clash course ไว้ในบล๊อคให้เร็วๆนี้นะคะ
  • ลิสงานออกมาว่าจะลดงานไหน เอางานไหนออก จะเน้นงานไหน
  • ไปดูวิธีการ Presentation , เล่าเรื่องของคนอื่น ว่าเค้าเล่ายังไง ลองไปดูงานประกวดแบบ หรือ งาน รางวัล ดูพวกงานที่ feature articles แล้วมันเล่าประเด็นนึง นอกจากงานสถาปัตย์ ดูงานสายใกล้เคียงก็ได้ เช่น งาน Urban, Landscape เพราะแม้งานจะต่างกัน แต่วิธีการเล่าเรื่อง มันก็ Process เดียวกัน
  • ศึกษา Graphic Design, Composition เพิ่ม ดูเยอะๆ แล้ววิเคราะห์ ถอดแบบ วิจารณ์ ว่าดีไม่ดี ใช้เหตุผล แล้วค่อยตามด้วยใจ
  • Spell-Check ทุกครั้งเนอะ จะได้ไม่เขียนผิด
  • ถ้าอยากจะเอางานมือ มารวมกับงานคอม ควรจะไปดูตัวอย่างการจัดlayout ของพวก Illustrator artist ที่ดูแล้วมันClassy ลองไปเดินดูใน ร้านหนังสือ kinokuniya หรือ หาใน pinterest ดู แต่ข้อเสียของ pinterest คือ มันได้แค่ ภาพเดียว มันไม่ได้บอก sequence และประสบการณ์ของแต่ละเล่ม แต่ละการจัด มันไม่มี journey ถ้าเป็นพี่ พี่จะไปอ่านหนังสือ เปิดดูอะไรที่มันต่างจากเดิม แต่น่าจะเป็นตัวอย่างที่inspire เราได้
  • เทคนิคแนะนำ : ลำดับ เอางานที่เจ๋งสุด อยากเล่าสุด ใช้หน้าเยอะสุด ขึ้นก่อน แล้วค่อยๆ ผ่อนลงมาในงานต่อต่อมา
  • Single Page & Two Pages viewing : ออกแบบให้พอร์ทของเรา ดูในจอได้ทั้งหน้าคู่และหน้าเดี่ยว เพราะไม่ใช่ทุกคนจะตั้ง หน้าคู่โดยอัตโนมัติ บางทีเค้าอาจจะไฟล์เป็นหน้าเดี่ยว แล้ว ถ้าใช้ระบบที่เล่มนี้มี คือ อ่านจาก ขวาไปซ้าย (ซ้ายหน้า แรก ขวา หน้าสอง) แล้ว ชื่อโปรเจคมันอยู่ หน้าสอง หรือ ฝั่งซ้าย คนเค้าจะตามไม่ทันทันที (คือ ในกรณีนี้ ถ้าย้ายหัวข้อมาซ้ายไปขวา ปัญหานี้จะไม่เกิด การวางขวาไปซ้ายทำให้ปัญหาเพิ่มมาเยอะมากขึ้น)
  • แหล่งศึกษาเพิ่ม :

สู้ๆต่อไปนะคะ อย่าเสียใจกับคอมเม้นท์ หรืออะไรที่ตรงไป อาจจะจี้ใจ แอบแรง ยังไงก็อย่าน้อยใจ แต่เก็บเอามันเป็นไอเดียในการพัฒนาต่อนะคะพอร์ทน้องดีกว่า พอร์ทพี่สมัยปี 3 พี่ก็เคยผ่านจุดนั้นมาก่อน ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปขั้นอื่นๆ พี่คิดว่าน้องมีศักยภาพในการพัฒนา และอยากเห็นเวอชั่นต่อไปของน้อง ที่พัฒนาไปอีกขั้นค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ น้องวันเฉลิม

ทำได้!! ได้ยิ่งกว่านี้อีก! ;D

ขอบคุณค่ะ

 

สำหรับผู้ที่สนใจ 1 Month : 1 Review

สามารถส่งมาร่วมลุ้นรับการรีวิวรายเดือนได้ ฟรี 1 คน ต่อเดือน ที่นี่

หากสนใจติดต่อให้รีวิวเป็นการส่วนตัว ก็สามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ jom@dreamaction.co ค่ะ

แล้วมาเจอกันใหม่ปีหน้า เดือนมกราคม 2017 ค่ะ