ไร้ความคิดสร้างสรรค์…แล้วคนอย่างฉัน..เป็น”สถาปนิก”ได้ไหม?

บทความนี้เป็นการตอบคำถามจากทางบ้านค่ะ มีน้องถามมาว่า…

Q : พี่จอมคะ ถ้าหนูไม่ค่อยมีความคิดที่สร้างสรรค์ไม่มีความคิดแบบแปลกแหวกแนวอะไรแบบนี้ หนูเหมาะที่จะเรียนสถาปัตย์มั้ยคะ
architecture creativityA : เหมาะไหม คงตอบยากเพระาไม่มีข้อมูลอื่นมาบอก แต่ ถ้าให้ตอบว่า…

ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ค่อยมีความคิดแปลกๆแหวกแนว จะเรียนสถาปัตย์ได้ไหม?

ขอตอบว่า ได้ค่ะ แต่….ต้องเข้าใจ และ มี 4 ข้อข้างล่างนี้ค่ะ

 

1-เราอยากสร้างอะไร ? ความคิดสร้างสรรค์น่ะสร้างกันได้

ความคิดสร้างสรรค์ ในงานสถาปัตยกรรมก่อนที่จะเข้าสถาปัตย์ ไม่ได้ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ต้องมีความคิดว่าอยากจะสร้างอะไรขึ้นมา เช่น….มีความตั้งใจว่า เราอยากจะประกอบอาชีพนี้ สร้างสิ่งปลูกสร้างที่ทำให้ชีวิตคนดีขึ้น สิ่งที่ต้องมีคือ ความมุ่งมั่นก่อน

เพราะ เรื่องความคิดสร้างสรรค์มันสร้างและพัฒนาได้ เมื่อเราเดินทางเข้าไปในกระบวนการที่เหมาะสม ทำให้เราดึงมันออกมาได้ แต่เราต้องพยายามดึงมันออกมาด้วยค่ะ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะไม่มา ถ้าเราเข้าไปเรียน ทำงาน และเริ่มผ่านกระบวนการออกแบบ จากการทำมันจริง มันจะบังคับให้เราคิดให้เป็น ซึ่งไม่ต้องกังวลค่ะ

จริงๆที่เราคิดว่าเราไม่มี อาจจะไม่ใช่เพระาเราไม่มี แต่เพระาเราไม่เคยเจอโจทย์ที่ช่วยให้เราคิด และดึงมันออกมา

อย่าคิดว่า ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นสถาปนิกไม่ได้ มันฝึกได้ และมันมีอะไรมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ค่ะ

2-คิดบวก Positive Thinking

ความคิดสร้างสรรค์ ในงานสถาปัตยกรรม

เราไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนมีความแปลกแหวกแนวถึงจะควรเป็นสถาปนิก แต่ถ้าอยากจะเป็นสถาปนิกและนักออกแบบ สิ่งที่ควรเป็นคือ เป็นคนมองโลกในแง่ดี คิดบวก งงไหม ว่าทำไมต้องคิดบวก?จริงๆแก่นของการออกแบบ คือ การแก้ปัญหา ถ้าไม่มีปัญหา มันก็ไม่มีงานให้เราทำค่ะ ปัญหาและเป้าหมายคือโจทย์ ที่เราต้องหาทางออก solution ในการแก้ออกมา ทีนี้การที่หาแนวทางเก๋ๆแปลกๆได้ มันก็ส่วนมากจะเกิดได้จากความคิดสร้างสรรค์เนี่ย แต่แทนที่จะมองว่าตอนนี้ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เลย ทำไงดี เรามาลองมันจริงๆตอนออกแบบ ในการหาทางแก้ปัญหาเพราะการออกแบบมันเป็นอะไรที่มีเหตผลมากนะ ไม่ใช่ตามใจจะเอาอ่ะ ทำไมไม่รู้

3-เข้าใจรูปแบบขององค์ความคิด Analytical thinking / Creative thinking / Critical Thinking

ความคิดสร้างสรรค์ ในงานสถาปัตยกรรมในสายงานออกแบบ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมเนี่ย เราไม่ได้ใช้แค่ความคิดสร้างสรรค์อย่าางเดียว มันเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ แต่รูปแบบความกระบวนความคิดมันแยกออกมาได้อีก เป็น Analytical thinking / Creative thinking / Critical Thinking ที่มันหลอมรวมกัน ไม่ได้แยกเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไปดังนั้นไม่ได้แปลว่าเราไม่ค่อยมีอย่างนึงเราจะไม่มีอีกอย่าง และบางทีอีกอย่างจะช่วยเราดึงส่วนที่เราไม่ค่อยได้ใช้มันออกมาด้วย ความคิดจะเกิดได้ ต้องบริหหารและช่วยดึงมันออกมาค่ะ ไม่ได้ลอยมาเอง

การออกแบบเนี่ย คือ การแก้ปัญหาค่ะ มันไม่ใช่หน้ากระดาษขาวขาวที่ปล่อยให้เราใส่อะไรก็ได้เหมือนเราวาดภาพลงผืนผ้าใบ ตามสิ่งที่เราคิด มันมีโจทย์มีปัญหามาให้เราแก้ นั่นคือความเจ๋งชองมัน และในการออกแบบนี้ สามารถมองวิธีคิดหลักๆที่เอามาใช้ในการคิดออกแบบคือ คือ

  • Analytical Thinking ใช้ในการวิเคราะห์และเข้าใจโจทย์ เข้าใจที่มาที่ไป และ เป้าหมาย
  • Creative Thinking คือการที่สร้างทางเลือก สร้างวิธีการแก้ปัญหา ออกมา
  • Critical Thinking คือการมองกลับไปยังการอกแบบด้วยการวิเคราะห์ วิจารณ์ หาข้อดีข้อเสีย และท้าทายโอกาส เพื่อหาทางออกใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

คือมันไม่ได้แค่ต้องสร้างสรรค์อย่างเดียวแล้ว แล้วสามอย่างมันไม่ได้แยกกัน

อย่างแรกคือที่น้องถามมา ความคิดสร้างสรรค์ จอมว่าความคิดสร้างสรรค์ คือการที่เราหาทางออกแบบเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างน่าสนใจ แตกต่างจากที่ผ่านมา และทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

อย่างมีความคิดสร้างสรรค์เนี่ย ก็มีหลายแบบ เราอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์ในแบบของเรา และเพื่อนอาจจมีในอีกแบบ บางคนอาจจะออกในแนวศิลปะ บางคนในแนวการจัดการพื้นที่ บางคนในการเอาทฤษฏีมาแปลเป็นการใช้งานจริง แต่บางคนอาจจะออกมาในเชิงเสียง ก็ทำดนตรี บางคนออกมาในเชิงการจัดการบริหารก็ทำธุรกิจ

Analytical thinking นี้เนี่ยแหละที่ เป็นเหตุเป็นผลให้เราคิดวิเคราะห์เข้าใจสถาณการณ์ และช่วยเป็นกระบวนการนำพาให้เราเริ่มหาทางออกต่อไป มันช่วยเราดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้ ในขณะเดียวกันก็ส่งต่อให้เราหาทางออก ในการแก้ปัญหา

กว่าที่จะได้ความคิดแบบ Creative จังเลย! บางทีเราก็ต้องคิดหลายทางออก จนกว่าจะ “หลุดพ้น”จากความธรรมดา หรือ Conventional ก็คือมันยังไม่ได้สร้างสรรค์แปลกใหม่ แต่ ถ้าเราหามันมากพอเราอาจจะค้นพบทางที่เรียกว่า แตกต่างจากเดิม ดีกว่าเดิม ไม่ธรรมดา และแก้ปัญหาได้เท่ห์ได้ดีขึ้นกว่าทางเลือกเก่า นั่นเลยเป็น Creative

Creative คือ การ think out of the box แต่ถ้าเราไม่รู้ว่ในกล่องมันมีอะไร เราอาจจะหลุดไปไม่ได้เช่นกัน

ดังนั้นบางทีเราไม่ได้ต้องเริ่มจากสร้างสรรค์ตั้งแต่ ก้าวแรก แต่ก้าวแห่งความคิด การวิเคราะห์โจทย์นั่นแหละ ที่นำพาเราไปสู่ทางเลือกในการออกแบบ ที่.. หนึ่งในนั้นอาจจะเป็นอันที่น้องจะเรียกว่า “สร้างสรรค์” “เก๋” ก็ได้

แต่ในบางกรณีอาจจะเริ่มต้นด้วยความ Creative แต่จริงๆมันก็ไม่เสมอไป เพราะอยู่บนพื้นฐานโลกแห่งความจริง การเข้าใจโจทย์บางทีมาก่อนเสมอ

เมื่อความคิดสร้างสรรค์เนี่ย เป็นส่วนช่วยในการสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา แปลว่า จริงๆแล้วไม่ใช่แค่สายงานเราต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่สายงานอื่นด้วยเช่นกัน เคยได้ยินไหม? ว่าสายงานเขียนก็มี Creative Writing, สายธุรกิจก็มี Creative Business เพราะว่าความคิดสร้างสรรค์มันช่วยทำให้การพัฒนาก้าวไปได้อีกขึ้น แปลว่า มีจะทำให้ผลลัพธ์ยิ่งดีมากขึ้น ทั้งสายงานเราและสายงานอื่นด้วยค่ะ

4-บทบาทมีหลากหลาย..ในสายอาชีพงานสถาปัตย์

ความคิดสร้างสรรค์ ในงานสถาปัตยกรรม

เราต้องลองค้นหาคุณสมบัติและความถนัดในตัวเราในสายงานดู เพราะว่า ในสายสถาปัตย์ก็ไม่ใช่ทุกคนถนัดเหมือนกันหมด และทำงานเหมือนกันหมด บางคนอาจจะถนัดออกแบบ บางคนอาจจะถนัดก่อสร้าง ทำให้เกิดจริง บางคนถนัดการจัดการบริหาร หรือ ติดต่องาน

ไม่อยากจะขัดขวางว่า ไม่มีความครีเอทมาเป็นสถาปนิกไม่ได้ เพราะอาชีพเรามีหลายบทบาทหน้าที่ค่ะ เราไม่ได้ต้องรู้คำตอบในวันนี้ แต่เราต้องค่อยๆศึกษาตัวเองไป พร้อมกับศึกษาองค์ความรู้ในวิชาชีพ เพื่อดึงออกมาว่าเราถนัดอะไร และเลือกหน้าที่ของเราที่เลือกทำมันเหมาะกับความถนัดที่เรามีในสายอาชีพ

ลองคิดดูนะ ตึกหรือโครงการสร้างสนามบิน หรืออื่นๆ มีสถาปนิกออกแบบจริง แต่นอกจากนั้นมีใครอีก มีวิศวกร มีคนคุมงานก่อสร้าง มีคนประสานงาน แต่ละคนไม่ได้นั่งออกแบบอย่างเดียว แต่บางคนเก่งในการไปจัดการคุมงานก่อสร้างก็มี หลายออฟฟิสต้องคนมีไอเดียเก๋ๆ แต่ หลายออฟฟิสไม่ได้อยากได้คนครีเอท อยากได้คนทำงานเสร็จก็มี

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นสิ่งที่มาเองตั้งแต่เกิด(เท่านั้น) มันมาจากกระบวนการที่หล่อหลอมให้เราเกิดความคิดและตรรกะในการแก้ปัญหา หาทางออกให้มันแตกต่างจากเมื่อก่อน (แหวกแนว) ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สร้างและฝึกฝนได้ค่ะ ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าไม่มีจะเป็นยังไง ไม่ต้องกลัวว่าหนูจะเหมาะไหม แต่สำคัญที่สุดคือ ถามตัวเองว่าอยากทำ อยากพยายาม มีพลังในการทำเพื่อมันไหม เพราะถ้าเราไม่มีแรงกระตุ้นในใจที่เพียงพอ เราก็อาจจะไม่สามารถดึงพลังที่อยู่ในตัวเราออกมาได้ ถามตัวเอง ว่าชอบรึเปล่า

<br<
<br<

จอมขอตอบน้องเป็น 4 ข้อตามนี้ อาจจะตอบเกินจากน้องถามไปหน่อย แต่คิดว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญและช่วยให้น้องเห็นภาพ และโอกาสในการทำงานสายสถาปัตย์ หรือ ใกล้เคียง

จะเหมาะกับน้อง / คุณ แค่ไหน จอมตอบแทนไม่ได้ เพราะไม่ได้รู้จักตัวของคุณมากกว่าตัวคุณเอง แต่ว่า แนวทางที่ให้น่าจะช่วยให้ลองดูว่าทางไหนที่ตรงกับสิ่งที่คุณสนใจ

แม้แต่วิศวกรก็ต้องใช้การออกแบบ และมี Creative thinking แต่พื้นฐานของ Analytical จะหนักหว่าสถาปัตยกรรม และองค์ความรู้จะมาจากความเป็นจริงจากการคำนวณ บางทีถ้าเราชอบในด้านนั้นมากกว่า ชอบคำนวณเยอะ ออกแบบน้อยกว่า ไปทางนั้นอาจจะตรงเรามากกว่า

ลองมองเป้าหมายของเรา แต่ถ้าเราอยากออกแบบ อยากสร้างงานดีดีออกมา อยากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ก็ต้องมุ่งมั่นและลุยเลยค่ะ

ต้องลองดูว่าเราตรงกับสิ่งไหน และเราชอบอะไร ต้องการอะไรมากกว่ากัน

ความคิดสร้างสรรค์ฝึกกันได้

ไม่ต้องห่วงค่ะ ที่ไหนก็ต้องการใช้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะมาหยุดเรา ถ้าเราไม่มีมัน ไม่มีก็สร้างมัน ขุดมันออกมาได้ค่ะ โอเค มันอาจจะไม่ได้ง่ายเสมอไป แต่กระบวนอื่นๆเช่นวิเคราะห์ก็สำคัญ มันช่วยดึงกันและกันออกมาได้เช่นกันค่ะ

สิ่งที่สำคัญสุดสุด คือ ความตั้งใจ การตัดสินใจ มุ่งมั่นที่จะเดินไปหามัน ถ้าเรามีไม่พอในวันนี้ แต่อยากได้มันเหลือเกิน เราก็ต้อง work hard เพื่อให้ได้มันมา สักวันหนึ่ง

ชีวิต คือ การเรียนรู้ การที่เรารู้ว่าเราเก่งอะไรไม่เก่งอะไร เป็นสิ่งที่ดี เพราะถ้าเราเข้าใจมันว่าเราขาดอะไร และพยายามเติมเต็มให้มัน พรุ่งนี้เราจะดีกว่านี้ค่ะ