เปิดใจ 3 ข้อ ที่ทำให้ย้ายค่ายจาก SketchUp มา Rhino

สวัสดีค่ะ เราชื่อหนึ่ง เป็นภูมิสถาปนิก ใช้ชีวิตทั้งการเรียนและการทำงานมาร่วมสิบปีในโรงเรียนออกแบบ และทำงานมาในหลายๆประเทศ ได้ลองใช้ 3D Modelling Software มาเกือบครบ ทั้ง 3Ds Max, SketchUp, Maya, FormZ หรือ Revit และใช้ใช้ SketchUp มาเกือบทั้งชีวิต(เพราะมันง่าย) ที่เปลี่ยนใจมาบูชา Rhinoceros อย่างเรา การใช้ Rhinoceros ทำให้การสร้างโมเดลเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก และสนุกขึ้นมากอีกด้วย อย่างสถาปนิก หรือ สายสถาปัตย์โดยตรง ก็ใช้ Rhinoceros กัน

แต่วันนี้เราจะมาบอกเล่าถึงเหตุผล และข้อดีของมัน 3 เหตุผล ใหญ่ๆ ว่าทำไมชาวแลนด์สเคปควรใช้ Rhinoceros กันค่ะ

1.Advance Modeling – NURBS

ปัญหาของนักออกแบบในยุคปัจจุบันที่มักใช้คอมพิวเตอร์แทบจะตลอดเวลา ก็คือการที่ข้อจำกัดของโปรแกรมมักกลายเป็นข้อจำกัดของคนออกแบบว่าจะสร้างขึ้นมายังไง Rhinoceros 3D สามารถ อันนี้แสดงชิ้นงานออกมาได้ง่าย ตอบโจทย์ของนักออกแบบได้มากกว่า Rhinoceros 3D มี Command และ Function ต่างๆให้เลือกเยอะมาก รวมไปถึงคำสั่งในการสร้าง Organic Forms ต่าง ๆ ที่วิธีการใช้งานไม่ได้ซับซ้อนเท่าการใช้ 3D Modelling Software อื่นๆ ทำให้ Rhinoceros 3D เป็นโปรแกรมที่สามารถรองรับการใช้งานสำหรับ Advance Modelling และโครงสร้างต่างๆที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ดังนี้

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

NURBS

เนื่องจาก Rhinoceros เป็น NURBS Based Modeling Program คือ (NURBS : Non-Uniform Rational Basis Splines) เป็นโปรแกรมที่ใช้ค่าทางคณิตศาสตร์ของรูปทรงเรขาคณิต ที่สามารถแสดงถึง รูปร่างและรูปทรงต่างๆได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง ค่าต่างๆเหล่านี้ จะแสดงในรูปของเส้นสาย Surface หรือฟอร์มต่างๆ ตั้งแต่แบบง่ายๆ ไปจนถึง 3D Organic form ที่มีความซับซ้อน เราสามารถใช้ NURBS objects ย้ายไปทำงานในกระบวนการต่างๆของงานออกแบบ ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเขียนแบบ illustration ทำ animation ไปจนถึงการผลิตชิ้นงาน รวมไปถึงการใช้ในโปรแกรมที่มีความซับซ้อนต่างๆกันได้โดยไม่ทำให้รูปร่างรูปทรงเสียไป สรุปสั้นๆก็คือ สำหรับเส้นโค้งและOrganic Forms ต่างๆที่ทำได้ยากเย็นแสนเข็ญใน SketchUp (ที่เป็น Mesh Based ไม่ใช่ NURBS Based Modeling Program) หรือต้องใช้พลัง Plug in ประมาณล้านตัว จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันทีใน Rhino

ความสนุกของ Rhino และNURBS Model ที่นี่ ค่ะ

เริ่มจากทำ Mobius Forms ก่อนเลย อลังการง่ายๆ

ต่อมาด้วยคลิปสอนค่ะ ไว้ดูตอนว่างๆได้

 

 

Easy to Adjust

อีกหนึ่งข้อดีของ Rhinoceros คือ เวลาแก้ไข Mass ง่ายมาก เนื่องจากวัตถุที่ขึ้นมาใน Rhino เป็น รูปทรงต่างๆที่มักเป็น NURBS objects และมักจะเชื่อมเป็นอันเดียวกัน ไม่แยกเป็นชิ้นๆ หรือเส้นเห็นเป็น Polygon Mesh อย่างใน Sketchup แม้ว่าฟอร์มจะมีความซับซ้อนมากก็ตาม เมื่อรวมกับการจัดการเลเยอร์ที่ดี และคำสั่งที่มีให้เลือกอยู่มากแล้ว การแก้ไขงานจะควบคุมได้ง่าย

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

Advanced Tools : Plugin – Rhino Terrain/Grasshopper

นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมด Rhinoceros มี Plugin ที่รองรับการใช้งานที่กว้างมาก ในยุคที่ Landscape Architecture มีความหมายมากกว่าความสวยงาม Rhinoceros มี Plugin ยอดนิยมสำหรับชาวแลนด์สเคป คือ Rhino3D สำหรับการทำ Topography และฟอร์มประหลาดๆต่างๆ อีกอันหนึ่งก็คือ Grasshopper 3D ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์จินตภาพ (Visual Programming Language ไว้สร้าง Generative Algorithms สำหรับสร้างโมเดลขึ้นมาจากระบบอันหนึ่ง ซึ่งทำได้ทั้งการสร้าง Forms หรือ Patterns การทำ Site Analysis หรือแม้แต่สร้างวิธีปลูกต้นไม้ การใช้ Plugin เหล่านี้ ทำให้การสร้างโมเดลในงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องสนุก และสะดวกสบายมากขึ้น

ตัวอย่างการใช้ Plugin ที่น่าสนใจจาก Youtube ค่ะ

Rhino Terrain

สำหรับงานภูมิสถาปัตยกรรมที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำในงาน Landscape บ่อยครั้งที่เราใช้ผัง Survey หรือข้อมูล GIS data ที่กำหนดค่าความสูงหรือมีเส้น Topography มาให้แล้ว Rhinoceros จะสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งตามจริงและความสูงของข้อมูลเหล่านั้นได้ หลังจากนั้น เราก็สามารถใช้ Rhino Terrain สร้าง Topography ตามข้อมูลเหล่านั้นค่ะ

การสร้าง Topography จาก GIS Data

 

การสร้าง Topography ด้วยข้อมูลจาก Google Earth

ที่เราสามารถนำข้อมูล Topography มาทดลองสร้างจริงจาก Software ซึ่งจะง่ายกว่า SketchUp ตรงที่ Rhinoceros มี Tools ให้ทดลองได้เยอะกว่าและมีความแม่นยำกว่า

 

Grasshopper 3D

Ladybug สำหรับใช้ศึกษาสภาพแวดล้อมและอากาศ สำหรับทำ Site Analysis

 

Trusses on the Surfaces

 

ปัญหาเดิมที่จะหมดไป :

ข้อจำกัดในการออกแบบและความซับซ้อนในการใช้งานที่เกิดจากข้อจำกัดของโปรแกรม

2. Efficient Workflow

Between Software

การจัดการ Layer ในโมเดลเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการต้องแก้งานแลนด์สเคปสเกลใหญ่ๆแต่ละครั้ง เลเยอร์ที่ตีกันยุ่งเหยิงไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เวลาที่ทำงานเป็นทีม การตั้งชื่อเลเยอร์ หรือสร้างระบบงานที่เข้าใจง่าย ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นมากขึ้น Rhinoceros มีดีตรงที่เราสามารถ import files จากโปรแกรมต่างๆ (โดยเฉพาะโปรแกรมยอดนิยมเช่น AutoCad) แล้วเลเยอร์ที่เราสร้างไว้ก็ยังคงเป็นเหมือนกับในโปรแกรมต้นฉบับ ต่อให้การเขียนเส้นโค้งหรือการทำ Block ต่างๆ เมื่อเราเอางานเข้าไปทำต่อในโปรแกรมอื่นๆ การตั้งค่าที่เราตั้งไว้ในRhinoceros ก็จะยังคงเดิม ลองนึกภาพว่าเราไม่ต้องไปนั่งแก้เส้นที่ทับกันยุ่งเหยิงเพราะ Import มาจากโปรแกรมอื่น แล้วค่าสีที่ตั้งไว้ก็ยังคงเดิม การเลือกเลเยอร์ในการทำงานก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

Accuracy

บ่อยครั้งเวลางานเร่งๆ การสามารถทำงานให้จบ หรือใกล้จบได้ได้ในโปรแกรมเดียวเป็นเรื่องดี สำหรับ Rhino ที่เราสามารถทำ (เกือบ) ทุกอย่างได้ภายในโปรแกรมเดียว ทั้งการเขียนแบบ และการออกแบบ Space ไปพร้อมๆกัน การสร้าง Layers ใน Rhinoceros แล้วเขียนแบบตามที่เราต้องการ การเอาเส้นหรือเลเยอร์ที่เราสร้างเข้าไปทำต่อในโปรแกรมอื่นๆ ก็เป็นเรื่องง่าย และสามารถทำไปได้จนจบขั้นตอนการผลิตชิ้นงาน ยกตัวอย่างง่ายๆคือการทำ 3D Printing

Rhinoceros มีความละเอียดสูง และค่าที่ตั้งไว้ตามใน Rhinoceros ก็ไม่คลาดเคลื่อน เพราะมีระบบ Coordinate System ที่สามารถกำหนด Geolocation ได้ตรงตามจุดเป๊ะๆ แม้ว่าขีดข้อจำกัดในการทำงานบางอย่าง อาจจะยังไม่เท่ากับ BIM Software อื่นๆอย่าง Revit หรือ Vectorworks แต่ (BIM :Building Information Modeling) ในฐานะ Landscape Architects/ Designers ที่ต้องออกแบบร่วมกับพื้นที่ภายนอกตัวอาคารเป็นส่วนใหญ่ และต้องเกี่ยวข้องกับรูปทรงที่ไม่ใช่เรขาคณิตค่อนข้างมาก Rhinoceros ถือว่าตอบโจทย์ทางด้านการใช้งานในทุกๆเรื่อง

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

Layer management

Rhinoceros มีระบบจัดการเลเยอร์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ การตั้งค่าเลเยอร์สามารถทำได้ทั้งที่เป็นเลเยอร์หลัก และการสร้าง Sub Layers ซึ่งจะเป็น เลเยอร์ย่อยในเลเยอร์หลักอีกที อธิบายง่ายๆคือการ Grouping เอาเลเยอร์ที่เกี่ยวข้องกันไปรวมไว้ด้วยกันนั่นเอง (กรณีนี้ถ้าเป็นใน AutoCad อาจจะเท่ากับ Layer State) ทีนี้เวลาจะปิดเปิดเลเยอร์ เราก็เลือกทำงานได้ตามใจชอบ

ใน sketchup pro version ใหม่ๆ จะเห็นว่ามี layer management system ที่ดีขึ้น การ import เข้ามาจะแยกเลเยอร์ให้ มี layer filter แต่ว่า การใช้งานก็ยังไม่สมบูรณ์และเข้าใจง่ายเท่า rhinoceros

ปัญหาเดิมที่จะหมดไป :

การตั้งค่าเริ่มต้นในการทำงานใหม่ทุกครั้งหลัง import งานเข้ามาจากโปรแกรมอื่นๆ, การใช้งานข้ามโปรแกรมไปมาอยู่บ่อยๆระหว่างการทำงาน และ ความยุ่งยากในการจัดระเบียบการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความยุ่งเหยิงของผังสถาปัตยกรรมและผัง Survey ที่เราต้องเอามาทำงานต่อ

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

3. User Friendly

โปรแกรมที่เหล่าสถาปนิก และชาวแลนด์สเคปส่วนใหญ่ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน มักจะหนีไม่พ้น Autocad, Photoshop และ SketchUp Rhinoceros มีช่อง Command Prompt ที่เหมือนกับทั้ง Autocad และ SketchUp ชื่อคำสั่งในการสร้างที่คล้ายๆกันกับโปรแกรมประจำบ้านเหล่านี้ อย่าง Line/Polyline/Curve Trim/Fillet (แต่ Push/Pull ใน SketchUp จะถูกแทนค่าด้วย Extrude ใน Rhinoceros) และหน้าตาของ Iconsต่างๆก็คล้ายๆกับ Tools ในโปรแกรมยอดนิยมทั้งหลาย ทำให้การทำงานเป็นไปได้ง่าย
โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

Selection tools

Selection Tools ใน Rhino เทียบเท่ากับ Quick Select Tool ใน AutoCad ซึ่งทำให้การเลือกหลายๆวัตถุพร้อมๆกันเป็นเรื่องสะดวกขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเลือกเลเยอร์เดียวกัน เลือกสีเหมือนกัน หรือเลือกวัตถุที่ตั้งค่าไว้เหมือนกัน ที่เราชอบใช้คำสั่งนี้คือ เวลาขึ้น Mass ต่างๆที่ใช้ค่าระดับเดียวกัน เลือกวัตถุหลายๆอันพร้อมกัน แล้วป้อนค่าทีเดียว ไม่ต้องเสียเวลาในการเลือกทีละชิ้นอย่าง SketchUp ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งค่าเป็น Components
โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

Aliases

ความสะดวกอีกอย่างของ Rhinoceros ที่แม้ว่าจะมีคำสั่งที่ซับซ้อนมากมายให้เลือก แต่การที่เราสามารถตั้งค่า Aliases หรือ Shortcuts ได้ง่ายๆตามใจฉัน สำหรับคนเสพติดการใช้ Shortcut อย่างเรา วิธีทำก็แค่เข้าไปตั้งค่า aliases สำหรับคำสั่งต่างๆให้เหมือนกับโปรแกรมที่เราใช้อยู่เป็นประจำ (สำหรับเราคือ AutoCad) นั่นเอง

วิธีการตั้งค่า Aliases จากใน Youtube ค่ะ

Aliases

 

Command/function

Rhinoceros มีคำสั่งที่หลากหลายให้เลือกใช้ แม้ว่าบางคำสั่งจะซ้ำไปซ้ำมา หรือให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่นั้นก็เป็นทางเลือกให้เราได้เลือกใช้งาน สำหรับเรา การใช้ Rhino ไม่ได้จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ทุกคำสั่ง การรู้คำสั่งที่จำเป็นหรือใช้บ่อยๆ ก็ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นไม่น้อย

โปรแกรม สถาปัตย์ 3D ไรโน rhino rhinoceros grasshopper

ปัญหาเดิมที่จะหมดไป :

ความสับสนในการใช้ Shortcut Keys ระหว่างโปรแกรม และความซับซ้อนในการใช้งานระหว่างโปรแกรมที่ต่างกัน และ การใช้คำสั่งเดิมๆ จำกัดวิธิการทดลองในการออกแบบ

การใช้ Rhinoceros 3D ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่นๆที่เราต้องฝึกฝนให้คุ้นมือ การใช้งานไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยเวลา เราเชื่อว่าทุกคนจะสนุกกับมันค่ะ

ประวัติ

jidapa chayakulจิดาภา ฉายากุล เป็นภูมิสถาปนิกที่ไทยและสิงคโปร์อยู่ 5 ปี ก่อนลาออกมาเรียนต่อที่ Louisiana State University