12 color palette สุดเก๋ เอาไว้ใช้พัฒนางานกราฟฟิคให้สวยปัง จากอนิเมะ“หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ”

ตอนนี้กระแสภาพยนตร์การ์ตูนจากแดนอาทิตย์อุทัยกำลังมาแรงในเมืองไทย คงไม่พูดถึง “หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ” หรือ “Your name”,君の名は。,Kimi no Na wa ผลงานจากผู้กำกับมากฝีมือ “Makoto Shinkai” ผู้เคยทำให้ผู้คนมากมายหลงเสน่ห์กับเรื่องราวโรแมนติกเหงาๆ จาก “5 Centimeters Per Second ยามซากุระร่วงโรย” “The place promised in our early days เหนือเมฆา…ที่แห่งสัญญาของเรา” และ “The Garden of Words ยามสายฝนโปรยปราย”

12 color palette สุดเก๋ เอาไว้ใช้พัฒนางานกราฟฟิคให้สวยปัง จากอนิเมะ“หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ”

(Left) Makoto Shinkai, 5 centimeters per second poster (2007)

(middle) Makoto Shinkai, Dareka no Manazashi (2013)

(Right) Makoto Shinkai,The Garden of Words (2013)

หากอาหารที่อร่อยเกิดจากการคัดสรรและจัดเตรียมวัตถุดิบมาเพื่อปรุงให้เราสัมผัสรสชาติแสนอร่อยแล้ว อนิเมะเรื่องนี้คงจะขาด “ชุดสี (Color palette)” หรือ “กลุ่มสี” ไปไม่ได้

เพราะมันเป็นเหมือนวัตถุดิบหลักและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จูงมือไป ทำให้เราอิ่มเอมไปตลอดทั้งเรื่อง ด้วยผลงานที่ผ่านมามากมาย ผกก. ชินไก มีชุดสี (color palette)ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆ (มองแว้บเดียว ก็รู้เลยว่างานใคร)

ซึ่งผมมีความคิดว่า ตัว designer หรือเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่สนใจศึกษาเรื่องงานออกแบบ แล้วลองเอาเทคนิคการหาจุดเด่นของงานนี้ไปใช้สร้างสรรค์ พัฒนาผลงานของตัวเองดู งานของเราคงเท่ขึ้นไม่น้อยเลยครับ (ดูภาพ โปสเตอร์ สุดเท่แต่ละเรื่องของเขาสิ!!!)

วันนี้ผมขอนำเสนอชุดสี (color palette) ผ่านฉากสุดแสนประทับใจ (ไม่สปอยล์ๆ สบายใจได้) ที่ช่วยขับอารมณ์ของเนื้อเรื่องในช่วงขณะนั้น (อ่าว!! ไหนบอกจะไม่สปอยล์)

เพราะถ้าเราพิจารณาดีๆ วิธีที่ ผกก. ใช้ในการถ่ายทอดอารมณ์ของภาพทัศนียภาพ (perspective) นั้น เรียกได้ว่าน่าสนใจ น่าหลงใหล และน่าศึกษาเป็นอย่างมากแล้ว พอมีเรื่องชุดสี (color palette) มาช่วย เหมือนยิ่งทำให้งานเค้าเด่นมากขึ้นไปอีก

ในบทความนี้ ผมจะไล่โทนสีต่างๆผ่านการเล่าเรื่องแบบคร่าวๆ (บอกแล้วไม่ สปอยล์) ตั้งแต่อารมณ์สดใสยันสายมาคุ (มืดหม่น) แล้วจะสรุปวิธีเลือกสีเบื้องต้นเพื่อทุกคนจะเอาไปฝึกต่อได้ครับ

ปล. ไม่ต้องห่วงนะครับ บทความนี้ spoil free เนื่องจากนำภาพจาก trailer หลายๆแห่งมาใช้ในการวิเคราะห์เท่านั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับผลกระทบใดๆในการดูหนังจากบทความนะครับ

 

Introduction สดใส ทำความรู้จักกันก่อน

Color palette ชุดแรกนี้เป็นชุดที่ว่าด้วยการแนะนำสองตัวละครหลัก โลกที่แม้จะมองจากคนละมุม แต่ยังอาศัยแสงจากโลกเดียวกันอยู่ ลองสังเกตแสงยามบ่ายของทั้งสองคนดูครับ มีความแตกต่างกัน น่ารักกันไป

kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค จานสี

สัมผัสสิ่งแวดล้อมจากทั้งสองฝั่ง

Color palette ชุดนี้ จากฉากที่ขยี้ตาแล้วขยี้ตาอีก (ต้องไปชมในโรงหนัง จะอลังการจนลืมวิเคราะห์ไปเลย 55+) อะไรจะสามารถเล่าเรื่องความงามที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ที่ๆแห่งนั้นก็มีความงดงามของตัวเอง ที่สำคัญคือในหลายๆฉาก ผกก. ใช้สีเด่นๆอย่างสีม่วงแทนแสงแดดสีปรกติ สีนี้เป็นสีช่วยขับเรื่องให้มีความลึกลับน่าค้นหามากขึ้น

เมืองกรุงยามสดใส (ทำไมแอบรู้สึกว่าอากาศสดชื่น 555+)kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

ในเมืองที่อากาศเปลี่ยนแปลงkimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

ช่วงเวลายามเย็นของเมืองไกล (จุดไฟเล็กๆริมบึงโน้น คือเมืองนะจ้ะ)kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

ศาลเจ้ากลางหุบเขา ท่ามกลางธรรมชาติkimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

 

ช่วงเวลาโศกเศร้า

ในชุดสีต่อไปนี้ มีความเท่ซ่อนอยู่ คือบางทีเราไม่จำเป็นต้องใช้สีครบทุกโทนในภาพเดียวก็ได้ แต่ยังสามารถช่วยแสดงความเหงาออกมาได้ดีขึ้นมากจริงๆ (งานศิลปะ หรืองานออกแบบไม่ได้มีพระเอกแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง การนำหลายๆองค์ประกอบมาใช้ออกแบบจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยทำให้งานของเรามีความสมบูรณ์มากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องจัดลำดับความสำคัญองค์ประกอบเหล่านั้นดีๆ)

น้ำตาไหลออกมาไม่รู้ตัวkimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

ค่ำคืน ทางผ่าน ความเหงาkimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

 

ปาฏิหาริย์

ชุดสี (color palette) ชุดสุดท้ายนี้ ว่ากันด้วยปรากฏการณ์พิเศษไปจากโลกธรรมดา สีที่ปรากฏในภาพจึงมีความแตกต่างไปจากสีที่ใช้ทั่วไป บางทีก็ใช้สีบางอ่อนสไตล์ Pastel เป็นสีหลักของภาพ แล้วมีสีคู่ตรงข้ามที่หนักๆเด่นขึ้นมา แต่ละฉากนั้น จึงช่วยดึงให้ภาพนั้นเด่นขึ้นมาอีกระดับ

สิ่งที่เราไม่คาดฝัน!!kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

สิ่งที่เราไม่คาดฝัน (อีกแล้ว!!!)kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

สิ่งที่เชื่อมเราสองเอาไว้ (นั่นไง เกือบสปอยล์ละ)kimi no nawa color palette งานกราฟฟิค ตีมสี สกีมสี จานสี

 

Poster ของตัวหนัง

และผมขอปิดท้าย ชุดสี (color palette) ชุดสุดท้ายไว้ ด้วยใบปะ (poster) ของอนิเมะเรื่องนี้ครับ ไม่แปลกใจเลยที่มองแว้บแรกนั้น ทั้งตัวงานและโทนสีก็พอบ่งบอกให้เราได้รู้ว่า เรากำลังจะได้รับชมกับเรื่องราวความเหงาและโรแมนติกขนาดไหน

เป็นอย่างไรบ้างครับ? กับชุดสีที่ผมลองถอดจากฉากนิเมะมาให้รับชมกัน ต้องบอกว่าชุดสีเหล่านี้ อาจจะไม่ใช่สีที่ ผกก. ใช้ หากแต่เป็นการวิเคราะห์ของตัวผมเองว่า ทำไมฉากเท่ๆที่ปรากฏให้เราเห็นนี้ ถึงลงตัวและงดงาม ดังนั้นมุมมองในเรื่องชุดสี (color palette) เลยเป็นอะไรที่แต่ละคนจะมองเห็น มองจากมุมมองของตัวเองได้เสมอครับ

สำหรับเทคนิคการสังเกตชุดสี (color palette) มีผู้ใช้เทคนิคนี้ในการทำงานหลายสาขาวิชามาก ส่วนใหญ่ digital artist หรือ color artist ก็มักนำเทคนิคนี้ไปค้นหาสีที่ตัวเองชอบ แล้วสร้างสรรค์งานออกมาก วิธีการก็คือ พวกเขามักจะหารูปภาพที่มีสีที่โดดเด่นหรือองค์ประกอบของภาพมีสีที่มีความน่าสนใจ ไม่จำกัดแต่เพียงหนังหรือภาพถ่ายเท่านั้นครับ จะเป็นอะไรก็ได้ จากนั้นก็เอามาถอดสีและจับคู่สีให้เกิดความสอดคล้องกัน ซึ่งยุคนี้มีเวบ online ที่เราสามารถให้ engine บางตัวช่วยเราในการจับคู่โทนสีได้อย่างง่ายดายอย่างเวบต่างๆนี้

http://color.adobe.com
http://paletton.com
http://colourlovers.com
http://www.cssdrive.com/imagepalette/

โดยเพื่อนๆจะสามารถดูดสีออกมาเป็นรหัสสีแล้วนำไปใส่ในโปรแกรมทำงานด้านสีของตัวเอง แล้วสร้างออกมาเป็นชุดสี (color palette) เอาไว้ทำทดลองใช้งานได้ครับสรุปวิธีการเอาเทคนิคนี้ไปใช้ต่อ

  1. จับใจความสำคัญของภาพที่นำมาใช้ ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในงานเรา
  2. แยกแยะโทนสีจะแบ่งออกเป็นสีหลัก (สีที่เด่น) และสีรอง พิจารณาง่ายๆ โดยดูปริมาณสีในภาพ หรือตำแหน่งสีในภาพรวม
  3. เลือกสีออกมา โดยเน้นให้เป็นสีที่เป็นกลาง (ไม่สว่าง ไม่มืดเกินไป)และไปในทิศทางเดียวกัน เช่น จะเล่นโทน pastel อ่อนๆบางๆหรือ vivid เข้มข้นหนักแน่น ก็เลือกเอาสักจุดหนึ่ง ถ้าเพื่อนๆสังเกตภาพที่ผมนำมา บางภาพจะเป็นโทน pastel ไปเลย คือสีค่อนข้างสว่างและบาง ดังนั้นถ้าเราเลือกสีที่เข้มมาใช้ในปริมาณที่พอๆกันกับสี pastel อาจจะทำให้เกิดความสับสน ผสมปนเปในงานได้ (คือไม่ชัดเจน ว่าจะเอาอะไรทางไหนนั่นแหล่ะ)
  4. จาก ชุดสีหลัก บางคนก็พอแล้ว และเริ่มทำงาน แต่สำหรับบทความนี้ ผมลองแยก tone ของแต่ละสีออกมาอีกเป็นโทนสว่างและโทนมืด เรียกชุดสีนี้ว่า “Micro palette” ครับ
  5. เวลาลงสี จัดสีในภาพของเรา ให้เราใช้สีเด่นในภาพให้เยอะกว่าสีรองเอาไว้ก่อน (แต่ทั้งนี้ มีเทคนิคการลงสีแยกออกไปอีก มีความหลากหลาย ไว้โอกาสหน้าผมจะลองนำเสนอครับ)

วิธีใช้ code สี :

สีนี้เป็นชนิดของ “Hex/HTML” นะครับ ที่สามารถพิมพ์ใช้ได้ในโปรแกรมตระกูล Adobe เวลาเลือก RGB มันจะอยู่มุมล่างของกล่องเครื่องมือในโปรแกรมครับ โดยมีสัญลักษณ์ # ตามแบบภาพข้างใต้นี้ครับ

ทีนี้ชื่อสีของ Hex/HTML จะเป็นคนละชื่อกันกับ “color pantone” ที่เรานิยมใช้กันครับ บางทีในการคุยงานกันอาจจะมีชื่อสีที่เข้าใจต่างกัน แต่ไม่ต้องห่วงครับ เราสามารถตามหาสีนั้น เหมือนที่พระเอกของเราตามหานางเอกอยู่….ปี (อย่าสปอยล์สิ!!!)

โดยเราสามารถเข้าเวบ online เพื่อเปลี่ยนชื่อสีไปเป็นอีกชื่อเพื่อหาสีมาทำงานได้ผ่านเวบ rgb.to ก็จะได้ตัวอย่างแบบภาพนี้ออกมาครับ ขั้นตอนคือใส่ชื่อ code ของเราก่อนไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ในที่นี้คือ HEX จากนั้นเราจะได้ผลลัพธ์เป็น pantone ออกมาครับ เท่านี้เราก็สื่อสารกันสบายขึ้นแล้ว

Example (1) from rgb.to

Example (2) from rgb.to

 

สุดท้ายนี้

ผมมีแนวคิดว่า ลักษณะการโทนสีจากฉากต่างๆในการสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับอารมณ์ในการเล่าเรื่อง สิ่งที่สำคัญมากซึ่งผมมองเห็นในงานเหล่านี้คือ “องค์ประกอบของงาน” ไม่ว่าจะเป็น มุมกล้อง สิ่งของในฉาก หรือช่วงเวลา สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวที่ช่วยขับ (emphasize) ให้งานของเรานั้นเด่นขึ้นหรือที่สำคัญที่สุดคือการที่สามารถสื่อสาร “ข้อความ” “ใจความสำคัญ” ของงานเราไปสู่คนดู หรือถ้ามองจากมุมมองของนักออกแบบ คือลูกค้าของเรานั่นเองครับ

ยังไงทุกคน สามารถลองเอาวิธีนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์กับอนิเมะหรือภาพยนตร์เรื่องอื่นๆดูก็ได้นะครับ และยังไม่จำกัดแค่สื่อเหล่านี้เท่านั้น เรายังสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคกับภาพ perspective ภาพวาด ภาพถ่ายของสถาปนิกหรือศิลปินที่เราชื่นชอบ หรือแม้แต่ภาพที่ถ่ายจากกล้องมือถือของเราได้ด้วยครับ

All picture credit from Makoto Shinkai, Kimi no na wa (Your name) (2016)
Tokyo POP TV – trailer and 東宝MOVIEチャンネル – trailer

 

ประวัติผู้เขียน

Apinut Sompakdee (เจตน์)พอจบจาก School of Architecture and Design, KMUTT ก็ผจญภัยในโลกนักออกแบบทั้งแบบบริษัทและ ฟรีแลนส์ในประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปี ตอนนี้ผันตัวมาสายวิชาการเป็น Senior Researcher ในองค์กรเอกชน และกำลังศึกษาปริญญาโทสายสถาปัตยกรรมที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนบทความอื่นๆทางแนวคิดในงานออกแบบที่ http://apinutarchitect.blogspot.com/