9 หนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาด!!

ถ้าพูดถึงหนังสือ คลาสสิคในด้าน Theory และการวิเคราะห์ถอดรหัสสถาปัตยกรรม ต้อง 9 เล่มนี้เลย ที่ไม่ใช่เก่าแต่ล้าสมัย แต่มันเก๋า..จนสถาปนิกไม่ควรพลาด!!

1.Pattern Language

Christopher Alexander ,Sara Ishikawa , Murray Silverstein , Max Jacobson , Ingrid Fiksdahl-King , Shlomo Angelหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาดเป็นที่สุดของหนังสือสุดคลาสสิค ที่พูดถึงภาษา และ Pattern ที่ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบ และองค์ประกอบต่างๆในงานออกแบบ เล่มนี้มีประโยชน์มากค่ะ เป็นการใช้ในการอ้างอิงในกระบวนการออกแบบ มากกว่าจะอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ

วิธีอ่าน : ในเล่มนี้อัดแน่นไปด้วย 3 กลุ่มข้อมูลใหญ่ๆ คือ Town , Buildings และ Construction ที่เล่าตาม Language และ Pattern ของแต่ละส่วน เริ่มต้นด้วยกลุ่มที่เหมาะกับคำถาม หรือความสนใจของเรา แล้วค่อยๆเจาะลงไปตามประเด็นใน Patterns นั้นๆค่ะ

จอมเริ่มใช้เล่มนี้ตั้งแต่ตอน ปี 3 จนตอนนี้ก็ยังใช้ และก็ยังอ่านไม่จบ เพราะยังไม่ได้ใช้ทุกประเด็นในนี้ แต่มีประโยชน์มากจริงๆค่ะ

 

 

2. Image of the City

Kevin Lynchเป็นหนังสือเล่มแรกที่อาจารย์แม้ว หรือ อาจารย์ทิพย์สุดา ที่สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อ้างอิงและพูดถึงหนังสือเล่มนี้ หลังจากนั้นตอนที่เริ่มเรียน Urban Design ก็ยังได้ใช้เล่มนี้อีก บอกเลยว่า จนวันนี้ ก็ยังได้ใช้ความรู้นี้ (แต่ตอนนี้ไม่มีในครอบครองแล้ว ยกให้เพื่อนไป) ไปทำงานที่ไหนที่อเมริกา ไม่มีใครไม่รู้จักเล่มนี้

การออกแบบสถาปัตยกรรมไม่ได้อยู่แค่กรอบของผนังอาคาร แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับบริบทรอบด้าน ของย่านของเมือง ความเข้าใจในเรื่องของ ภาพลักษณ์ของเมือง และมองย้อนกลับมาที่งาน มีส่วนช่วยในการสร้างงานออกแบบที่ดี และลึกไม่ฉาบฉวย

และการมองเมืองผ่าน Nodes, Districts, Path, Landmark และ Edge ยังคงใช้ได้ดีเสมอ

3. Architecture: Form, Space, and Order

Francis D. K. Ching หนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาดเล่มนี้เป็นหนึ่งในสุดยอดหนังสือที่”เขียนด้วยมือ” ทั้งเล่ม เล่มนี้เป็นกลุ่มแรก ที่เริ่มดูตั้งแต่สมัยเรียน ใครๆก็น่าจะต้องรู้จัก มันยังไม่เก่า และมันยังเล่า Basic ในการออกแบบ ในการจัดองค์ประกอบ element ได้อย่างดี ในหนังสือจับประเด็นในเรื่อง Primary Elements, Form, Form & Space, Organization (การจัดกลุ่ม), Circulation, Proportion & Scale และ Principles ค่ะไม่ว่าจะเก่ง หรือ ล้ำขนาดไหน Basic พวกนี้ก็ไม่ได้โดนมองข้ามไป แต่มันต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบ ที่เราคิดถึงมัน ไม่ลืม เพราะมันเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบค่ะ

 

4. S M L XL

Rem Koolhaas และ Bruce Mauหนังสือ rem koolhaasหนังสือคลาสสิค ของ Rem Koolhaas มันช่างควรค่าแก่การเก็บ และการอ่าน การศึกษา แนวความคิดแล้วเอามาใช้ในการออกแบบจริงนั้นทำอย่างไร

จอมใช้เล่มนี้ครั้งแรกตอน ปีสาม (ปีที่อัดทุกอย่าง ที่อัดได้) และได้เริ่มหัดศึกษาแนวคิด เรื่อง Bigness ที่ Rem เขียนถึงในนี้ และดูว่าเอามาใช้ในการออกแบบได้อย่างไร เพื่อให้งานออกแบบประสบความสำเร็จ กับงานปีนั้นค่ะ

จอม..ก็ยังไม่มีในครอบครอง ตอนนั้นยืมจากห้องสมุดคณะ ยืมต่อแล้ววว ต่ออีก จนต่อไม่ได้อีกแล้ว จนต้องไปคืน แล้วก็ไปเริ่มยืมใหม่ จนตอนนี้เล่มนี้ราคาก็ไม่ลงนะคะ ยังเป็นหนังสือสะสม ขนาดมือสองยังแพงเลย

 

5. The ten books on Architecture

Vitruvius and Herbert Langford Warrenหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาดเล่มนี้เก่ามากถึงมากที่สุดเลยทีเดียว เป็นการแปลมาจากบทความเก่าแก่ของ Vitruvious ค่ะ จะพูดถึงแนวทางออกแบบในยุคเก่า (ancients’ methods) ที่เป็นแนวคิดที่เป็นรากฐานทางการออกแบบมาตั้งแต่สมัย กรีกนั้น ที่ยังคลาสสิคและไม่ตาย เช่น symmetry, harmony, and proportion, materials, และ aesthetics ต้องลองอ่านเล่มนี้ค่ะ

มันบอกด้วยว่า Quality ของ Space แบบนั้น Design principle คืออะไร ไปจนถึงเทคนิคการสร้าง การใช้วัสดุ สัดส่วน และ เทคนิคต่างๆ

 

6. Delirious New York : A Retroactive Manifesto for Manhattan

Rem Koolhaasหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาด

Rem Koolhaas วิเคราะห์ และ ตีความเรื่องของพลวัตร(Dynamic)ของความสัมพันธ์ระหว่าง สถาปัตยกรรม กับ วัฒนธรรม โดยเลือกมหานคร New York มาเป็นห้องทดลองในโจทย์นี้ New Yorkแสดงถึงแก่นของการใช้ชีวิตคนเมืองได้ชัด ด้วยเรื่องของ “Culture of Congestion” หรือ วัฒนธรรมของความหนาแน่นแออัด
ในหนังสือเล่มนี้ Rem Koolhaas จะชี้ให้มองเห็นเมืองในอีกรูปแบบหนึ่งที่ ได้รับอิทธิพลมาจากพฤติกรรมมนุษย์ และ จะเปิดมุมมองใหม่ของสถาปัตยกรรม และเมืองที่คุณไม่ได้คิดถึงมาก่อน เป็นอีกเล่ม ที่….ต้องอ่าน!!!

7. Death and Life of american cities

Jane Jacobsหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิค ที่สถาปนิกไม่ควรพลาด

ส่วนต้นของหนังสือ จะเน้นเรื่องความสำเร็จของเมือง ที่เกิดจากการใช้คุณสมบัติของจุดแข็งของเมืองนั้น ไปจนถึงการมองจุดอ่อน โดยที่องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เป็นส่วนสร้างสรร โดยที่แนวความคิดคือ ไม่ใช่แสดงตัวอย่างให้เอาไปใช้ต่อผลิตเมืองแบบเดียวกันออกมาเหมือนๆกัน แต่ทำโดยการพัฒนาเมืองโดยที่มีเป้าหมายและเข้าใจว่า “เมืองนี้ต้องการอะไร” และ “ชีวิตของเมืองนี้จะเป็นอย่างไร” และ “ทำไมต้องเป็นแบบนี้”

ถ้าใครสนใจ เรื่องของสถาปัตยกรรมที่มีผลต่อการออกแบบเมือง และเมืองที่พัฒนาขึ้นหรือดิ่งลงเหวได้ด้วยสถาปัตยกรรม ต้องดูเล่มนี้ค่ะ

 

8. Complexity and Contradiction in Architecture

Robert Venturiหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิคในหนังสือ ตอนบทแรก Robert Venturi เริ่มต้นด้วย…“I like elements which are hybrid rather than “pure,” compromising rather than “clean,”” แค่เปิดมาก็บอกถึงมุมมองทางการออกแบบ ที่จะสะท้อนมาในหนังสือเล่มนี้

Complexity and Contradiction in Architecture เป็นหนังสือที่เขียนโดย Robert Venturi ที่จะเป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดที่ทำให้เราสามารถเข้าใจ Postmodernism และที่มาที่ไปของมันได้อย่างชัดเจน ในหนังสือ Venturi จะเขียน และมีภาพประกอบ เล่าถึงแนวความคิดที่ขัดแย้งกับทางสาย โมเดิร์น ที่เน้นในเรื่อง purism ว่าทำไม..มันจึงมี Postmodern ขึ้นมา

ถ้าคุณเป็นแฟนพันธุ์แท้สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น .. ไม่จำเป็นว่าจะอ่านไม่ได้ เพราะมันไม่ได้จะเปลี่ยนความคิดคุณ แต่มันทำให้เรามีมุมมองในการออกแบบกว้าง และลึกขึ้น และบางทีคุณอาจจะอินกับความโมเดิร์น กว่าเดิม และพบกับความมันส์เมื่อเจอหนังสือเล่มต่อไป ที่เขียนมาแย้งเล่มนี้ค่ะ

 

9. The Architecture of the City

Aldo Rossiหนังสือสถาปัตย์ สุดคลาสสิคเป็นหนังสือที่เขียนแย้งแนวคิด จากหนังสือ Complexity and Contradiction in Architecture ของ Robert Venturi

อ้าว อ้าว มันละสิ แล้วงี้จะเชื่อหนังสือเล่มไหนล่ะ? ไม่ต้องเชื่อเล่มไหนเลยค่ะ.. อ่านแล้วเลือกที่จะคิด และสร้างสมมติฐานของเราเอง

จริงๆเริ่มจาก Robert Venturi’s Complexity and Contradiction in Architecture ก่อน แล้วพอรู้ว่ามีอีกเล่มมา Oppose ก็เลยอยากอ่าน

ลองอ่านทั้งคู่ค่ะ!

 

ทั้งหมด 9 เล่มนี้ไม่ได้แปลว่า มีหนังสือทางสถาปัตยกรรมแค่นี้ ที่น่าสนใจนะคะ จริงๆยังมีอีกมากมาย หลากหลาย และแยกไปตามความสนใจที่อยากจะเจาะอีก

Theory เยอะไปป่าว?

ถ้าสงสัยว่าทำไม..หนังสือที่จอมเลือกมา มันมีแต่ตัวหนังสือ? มีแต่ Theory? ไม่ค่อยเห็นมีภาพเลย? เพราะว่าหนังสือมันบอกที่มา และแก่นของความคิดกว่ามันจะมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้ในเชิงภาพค่ะ สมัยเริ่มเรียนใหม่ๆจอมก็เริ่มจากดูหนังสือภาพเยอะมาก เพื่อเก็บไอเดีย แต่สุดท้ายการมองภาพงานชาวบ้านเค้า ก็มีส่วนในการสร้างภาพ”ติดตา” และแทนที่จะทำให้งานเราลึก และออกมาดี เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นชิ้นเดียวในโลก ที่มีคุณค่าแบบของมันจริงๆ กลับเอาภาพของใครต่อใครมาแปะ collage รวมกันจนมาเป็นงานใหม่…

จอมไม่อยากสร้างงานตื้นๆที่ได้มากจากการเอางานชาวบ้านมาตัดแปะ แต่จอมสนใจในการเข้าใจแนวคิด และอยากคิดตาม อยากตั้งคำถาม และอยากสร้างสมมติฐานใหม่ และลองออกแบบในแบบของเรา.. การอ่านหนังสืออักษรเยอะๆบางทีไม่ได้แค่ให้ความรู้เราตามที่เราอ่าน แต่มันสอนให้เรา คิด และ ตั้งคำถาม และบางที..จะไม่เชื่อมันก็ได้…

จอมเลยเชื่อว่า หนึ่งในหนทางการค้นพบความรู้ใหม่ๆ มันอยู่ในหนังสือค่ะ แม้จะไม่ใช้ทั้งหมด แต่มันก็ให้อะไรเรามาก เพราะจริงๆ หนังสือมันก็คือการบันทึก “ความคิด”ของนักออกแบบ ของนักคิด

จอมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แต่ก็ไม่ชอบอ่านหนังสือในเวลาเดียวกันค่ะ 555 จะบอกว่า Nerd ก็คงไม่ใช่ แต่ก็ใช่ในบางที 5555 แต่เรียกว่า จอมเป็นคนอยากหาคำตอบดีกว่า..เวลาเราอยากรู้อะไร ก็แค่ต้องการคำตอบ และเราอยากได้หลายคำตอบ เพื่อจะได้มาหารด้วยสิ… แล้วพอดีว่า หลายที การจะหาคำตอบ มันมาจากหนังสือ… และบางทีก็ต้องหาหลายเล่ม …

 

ในรอบหน้าๆ จอมจะเอาหนังสือ ที่เกี่ยวกับความรู้ที่แตกแขนงออกไป และเกี่ยวกับสายอื่นที่กำลังมาแรง และสำคัญในการออกแบบ ทั้งในทาง ภูมิสถาปัตยกรรม, Sustainable Design, และ Green Buildings ไปจนถึงหนังสือใหม่ๆน่าอ่าน

รอติดตามนะคะ!