7 Successful Tricks for Design Competition | ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน (Pin+Oui)

แยกกันเขียนมาหลายครั้งแล้ว วันนี้พิณกับอุ้ยขอนำเสนอการเขียนบทความร่วมกันครั้งแรกหลังจากที่ทำประกวดแบบด้วยกันหลายครั้ง (จริงเหมือนมานั่งเม้ากันมากกว่า) ว่าด้วยการทำประกวดแบบยังไงให้ได้(รางวัล) ให้โดน(ใจกรรมการ) ใครที่คิดว่าก็อยากทำนะ แต่ ไม่มีเวลา กลัวทำไปแล้วเสียเวลา ขอให้ลองอ่านดูว่าเบื้องหลังการชนะประกวดแบบระดับนานาชาติมา 2 ครั้ง ทั้งๆที่อยู่กันคนละซีกโลก เราพลาดครั้งอื่นๆมาเท่าไหร่ แลกกับอะไรไป ทำงานแบบไหนถึงจะได้ความสำเร็จแบบนั้นมา แล้วการประกวดแบบสนุกยังไง ซึ่งวันนี้พวกเราก็มี 7 tricks ประกวดแบบอย่างไรให้ได้ให้โดน มาฝากค่ะ ไปติดตามกันเลย

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

1.GREAT TEAM | เกรททีม

“คนที่คุยกันตรงๆได้ จุดนี้จะทำให้ประหยัดเวลาและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญต้องมีเวลาให้ด้วย”

พิณ:เราว่าอย่างแรกเลยคือทีมเราเกรทมากเวลาคุยกัน เราคุยกันแบบconstructive criticism พยายามส่งเสริมไอเดียกันและกัน แต่ถ้ามีอะไรไม่เวิคก็พูดตรงๆแล้วก็ช่วยกันแก้ไขได้ หรือแบบเวลาที่อีกคนนึงท้อ อีกคนยังสู้ มันก็มีแรงทำต่อเนอะ

อุ้ย:ใช่เลย จะสร้างเกรททีมต้องหาคนที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน คนที่คุยกันตรงๆได้ จุดนี้จะทำให้ประหยัดเวลาและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญต้องมีเวลาให้ด้วย การประกวดแบบก็เหมือนการทำพาร์ทไทม์ ถ้าช่วงงานหลักมีส่งพร้อมๆกับประกวดแบบก็ต้องเตรียมใจและร่างกาย สู้กับการเหนื่อยที่เป็นสองเท่าเพราะเราก็อยากให้งานที่ทำอยู่ออกมาดี

พิณ:เราว่าทีมเราพิเศษตรงที่เรากับอุ้ยไม่เคยทำงานด้วยกันมาก่อนเลยนะ มันเริ่มที่อุ้ยมาชวนทำประกวดแบบอันแรก แล้วอยู่กันคนละทวีป ตอนนั้นเราอยู่ยุโรปแล้วอุ้ยอยู่อเมริกา แต่ทำงานด้วยกันได้ Flow มาก ไม่มีอะไรมาขวางกั้นการทำงานของเราได้ยกเว้นเน็ตหลุด 5555

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

2.INTERPRETATION | ตีโจทย์ให้ตรงจุด

“ต้องอ่านและวิเคราะห์โจทย์ดีๆ”

อุ้ย: เราคิดว่า Idea +concept ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ การประกวดแบบ เราว่ายากตอนเริ่ม ยิ่งโจทย์ที่openมากๆ กำหนดมาแค่ตีมหลัก ไม่ได้กำหนด Site ก็ต้องอ่านและวิเคราะห์โจทย์ดีๆ เช่น Urban SOS ตอนนั้นมาในโจทย์ ‘All System Go’ ที่เราต้องเลือกแก้ปัญหาให้เมือง ซึ่งพอเราเลือกกรุงเทพก็จะมีประเด็นหลักๆ 3 ประเด็นคือ การคมนาคม มลภาวะ และ น้ำท่วม จะทำยังไงให้เข้ากับตีม All System Go? ซึ่งเราก็มองpotential ของกรุงเทพฯ คือมีโครงข่ายคลองมากมาย ก็เลยคิดที่จะพัฒนาคลองเพื่อแก้ปัญหาหลัก3 อันนี้ จากการเสนอ concept ที่ตอบคำถามได้ตรงจุดทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ในองค์รวม พร้อมกับกราฟฟิคที่ดูง่ายและชัดเจน ทำให้งานของเราโดดเด่นแล้วเข้ารอบสุดท้าย

พิณ: เราว่าสิ่งที่ทำหลังจากตั้งโจทย์ก็สำคัญนะ อย่างงาน SOS พอคิดว่าจะทำคลองให้ดีแล้วเราก็ต้องไป research ว่าคลองในกทม เป็นยังไง แล้วก็ ทำอย่างไรสิ่งที่เราอยากจะให้เกิดมันจะเกิดได้ เช่นตอนนั้นก็ต้องไปหาว่าคลองแบบไหนที่จะเวิคสำหรับการแก้ปัญหาการคมนาคม มลภาวะ และ น้ำท่วม แล้วเอาข้อมูลมาออกแบบอีกที Solution ที่เราเสนอไปเลยดูเหมือนว่าทำน้อย แต่ตอบโจทย์ทั้งหมดที่ตั้งไว้ด้วย

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

3.MANAGEMENT | การจัดการ เวลา+teamwork+workflow

“ต้องดูศักยภาพทีมและเวลาของเราก่อน ว่าทำไหวมั้ย มีการวางแผนให้แต่ละคนทำงานขนานกันไปได้ แล้วก็ต้องวางแผนตารางงานเหมือนเราเป็น project manager “

อุ้ย: เรื่องการจัดการก็สำคัญ

พิณ: อย่างที่อุ้ยชอบพูดบ่อยๆ เพราะเราอยู่คนละซีกโลก เลยได้ทำงาน 24 ชม. แต่ก็ยังคงได้นอน

อุ้ย: เราว่ามันดีมาก เพราะทำงานค้างๆกันอยู่ เราไปนอน ตื่นขึ้นมาพิณทำงานส่วนนั้นเสร็จแล้ว เราก็ว้าว เหมือนตื่นมาแล้วฝันเป็นจริง งานมีprogress มีพลังฮึดขึ้นมาทำต่อ

พิณ: การวางแผนแต่ต้นก็มีผลเนอะ เราชอบที่อุ้ยดูก่อนเลยว่าต้องส่งกี่เพลท ขนาดเท่าไหร่ แล้วพอคิดไอเดียได้เราก็มาคิดว่าเราจะพูดเรื่องอะไร จะจัดเพลทยังไง ต้องมี product อะไรบ้าง มันทำให้พวกเราวางแผนงานข้ามโลกได้

อุ้ย: ต้องดูศักยภาพทีมและเวลาของเราก่อน ว่าทำไหวมั้ย มีการวางแผนให้แต่ละคนทำงานขนานกันไปได้ แล้วก็ต้องวางแผนตารางงานเหมือนเราเป็น project manager (ถ้าอยากรู้วิธีจัดตารางการทำงาน หนังสือออกแบบความคิดพิชิตฝันของพี่จอม ช่วยได้คะ) บริหารคน บริหารงานและเวลาให้เสร็จทัน มีเวลาได้ตรวจทานและ เพื่อป้องกัน Last minute work

พิณ: แล้วก็ใช้ความเป็นเกรททีมนี่แหละ ช่วยๆกันทำไปจนสุด

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

4.Story Telling | การเล่าเรื่อง

อุ้ย: เมื่อเราได้ Concept ที่ดี ทีนี้ทำยังไงให้ audience เข้าใจในงานของเรา จุดสำคัญคือการเล่าเรื่องราวที่ต่อเนื่อง กระชับ และตรงประเด็น ทีมเราก็นำเอาการเขียน Story Board มาช่วยในการเรียบเรียงเรื่องราวด้วย

จำนวนเพลทที่กำหนดมาก็เป็นความท้าทายเหมือนกันว่าจะเล่าเรื่องอย่างไร เช่น ใน A1 แผ่นเดียว ที่จะต้องรวมเอาใจความงานของเราทั้งหมด ก็ต้องมาคิดการจัดLayout ตรงไหนจะเป็น Highlight ก็ต้องเน้น ตรงไหนจะเว้นให้เป็นที่ว่างก็จะช่วยให้เพลทดูไม่แน่นเกินไป หรือจะส่งใน A3 ไม่เกิน 10 แผ่น อันนี้เราก็สามารถแสดงหัวข้อรายละเอียดของงานแยกแต่ละแผ่นหรือเป็นchapterได้ ส่วนตัวคิดว่าส่งเป็นแผ่นขนาดเล็กๆหลายแผ่นดีกว่า เพราะว่าแจกงานง่ายและงานเต็มเร็ว 5555

พิณ: ที่บอกว่าต้องคิดว่าจะพูดเรื่องอะไรบ้างนี่ก็สำคัญ การเล่าเรื่องนี้เราจะคิด 2 ส่วน คือจะให้ flow ของการสื่อสารเป็นยังไง กับ จะ present ยังไง ถึงจะทำ layout ออกมาแล้วกรรมการเข้าใจอะ

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

5.กด Submit ให้ทันนาจา

“ถ้ากดส่งไม่ทัน หรือไม่ส่งเลยโอกาสที่จะได้รางวัล = 0%”

พิณ: หัวข้อนี้ใจความเหมือนว่าจะอยู่ที่คลิ๊กๆเดียว แต่ว่านะ จริงๆอาจจะมีคนที่เจ๋งกว่าเราก็ได้ แต่เค้าไม่ทำ หรือทำแล้วนอย แล้วไม่ส่ง เราก็เลยได้และโดนกันไป คือเราทั้งสองคนมีจุดที่แบบไม่เอาแล้วหลายครั้งมาก แต่การทำงานกับทีมที่ไม่ยอมแพ้ ทำให้เราต้องไปต่อ ซึ่งพอทำเสร็จ สวยงาม กด Submit ทันเนี่ย มันดีมากเลย รู้สึก Level up

อุ้ย: ต้องมีความตั้งมั่นและแน่วแน่ ถ้าจะทำก็ทำให้มันสุด อย่าหยุดกลางทาง ไหนๆจะเหนื่อยแล้วก็ต้องให้คุ้มค่า อย่าให้อะไรมาหยุดเรา เมื่องานเสร็จพร้อมส่ง วินาทีที่กด submit มันเป็นเสี้ยววินาทีที่รู้สึกฟินมาก หายเหนื่อยเลย

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

6.Never Give Up

“ท้อได้ แต่ไม่หยุด”

อุ้ย: ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียใจนะที่ไม่ได้ก็ไม่ได้แปลว่างานของเราไม่ดี แต่มันอาจจะยังไม่โดนใจกรรมการ หรืออาจมีงานที่ตอบโจทย์ได้ตรงกว่าเรา

เราอาจจะรู้สึก down แต่ก็คิดเสียว่าเหมือนเราย่อเข่าลงมาเพื่อที่จะเตรียมตัวกระโดดอีกครั้งไงถือว่าใช้โอกาสนี้เรียนรู้และวิเคราะห์งานที่ได้รางวัลเพื่อใช้เป็นประโยชน์พัฒนางานเราต่อไป

พิณ: คือทุกครั้งที่ประกาศผล เราจะเอาผลงานที่ได้รางวัลอื่นๆ หรือถ้าเวลาพลาดก็เอาอันที่ได้รางวัลมานั่งดูกันเลยว่าเค้าดียังไง อะไรที่ทำให้เค้าได้รางวัล มันก็เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างนึงของพวกเรา ที่น่าจะทำให้พวกเราคมขึ้นในคราวต่อไปได้ด้วยนะ

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

7.Passion

“ไม่คิดว่าอยากจะได้รางวัล แค่คิดว่ามาช่วยโลกและมาสนุกกันก็พอ”

อุ้ย: เราคิดว่าการทำประกวดแบบเป็นช่วงเวลาที่ได้เป็นตัวของตัวเอง อยากใส่ไอเดียอะไรก็ทำได้เต็มที่สนุกไปกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีไม่จำกัด และสนุกไปกับการทำงานร่วมกันในทีม ยิ่งในช่วงคิดconcept ยิ่งสนุก มันเป็นช่วงเวลาที่ปลุกไฟและพลังได้อย่างดีเมื่อเรามีเป้าหมายว่าเราอยากนำเสนอไอเดียของเราเพื่อช่วยแก้ปัญหา ช่วยให้คุณภาพชีวิต,คุณภาพสิ่งแวดล้อมและโลกของเราดีขึ้น

พิณ: ทำแล้วมันได้รางวัลมาเรื่อยๆอะ 5555 เอาจริงๆก็ทำแล้วสนุกน่ะ อย่างที่อุ้ยบอกว่าเราใส่ไอเดียได้เต็มที่ มันเหมือนกับเป็นที่ๆให้เราลองเอาแนวคิด หรือวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆไปทดสอบ ยิ่งมีเพื่อนที่มีไอเดียหลากหลาย ช่วยกันทำ ช่วยกันต่อยอดก็ยิ่งสนุก ระหว่างทำงานเราก็ได้ความรู้ ได้ไอเดียใหม่ๆหลายอย่างไปใช้กับงานหลักของเราได้ด้วย

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนา

ใครๆก็ต้องคิดว่าไอเดียตัวเองเลิศทั้งนั้นแหละ! ถ้าอาจารย์ล้มแบบ เจ้านายไม่เอา ลูกค้าไม่ซื้อ การประกวดแบบก็เป็นอีกทางนึงที่เราจะเอาไอเดียเราไปทดสอบความปังได้ แถมยังได้ฝึกมือ ฝึกคิด ได้งานสวยๆมาใส่พอร์ท แล้วถ้าชนะยังได้เงิน ได้เที่ยวอีก เราสองคนก็หวังว่า Tricks ทั้ง 7 จากพวกเราจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคนได้นะ สำหรับใครที่กำลังคิดจะส่งประกวดแบบ อย่าเก็บไว้แค่คิดนะคะ ทำเลยค่ะ ลุย!

 

รางวัลประกวดแบบจากการทำงานข้ามโลกของพวกเรา

ปี 2015 ส่งประกวดในผลงาน“ Canal SOS” ได้เข้ารอบ 3 ทีมสุดท้าย จากผู้ส่งประกวดกว่า400ทีมจากทั่วโลก และได้รางวัลที่สาม ของ URBAN SOS “All System Go” ที่จัดโดย AECOM, Resilient citites และ Van Allen Institute.

ปี 2016 ส่งประกวดในผลงาน“Re-inventing Sustainable Future of Suvarnabhumi Airport, Thailand” ได้รับรางวัลที่สามของ Rethinking the Future (RTF) Sustainability Student Award(http://www.re-thinkingthefuture.com/rtfsa2016-landscape-design-concept/creating-sustainable-future/)

ปี 2017 พลาดไปไม่เป็นไรเอาใหม่ 😊ปี 2018 ลุ้นอยู่

ประวัติผู้เขียน

ประกวดแบบยังไงให้ได้ ให้โดน โดย พิณ และ อุ้ย สุนันทนาพิณ อุดมเจริญชัยกิจ

จบปริญญาตรีจาก ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม จาก Erasmus Mundus Masters course in Environmental Sciences, Policy and Management ที่ได้ไปหลายๆประเทศในยุโรป ปัจจุบันเป็นภูมิสถาปนิก Freelance และ อาจารย์พิเศษสอน GIS และ Studio Design ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ มีความสนใจด้าน Urbanism Green Infrastructure และชอบกินไก่ทอดเป็นพิเศษ

สามารถติดตามผลงานเขียนอื่นๆได้ ที่ https://dreamaction.co/lurie-garden-by-ggn/

สุนันทนา นวลละออ (อุ้ย)

จบปริญญาตรีจาก ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบ Master of Landscape Architecture จาก Louisiana State University (LSU) ตอนเรียนฝึกงานที่ SWA GROUP ปัจจุบันทำงานเป็น Landscape Designer ที่ PLAT STUDIO , Berkeley, California, USA ชอบทำงาน Research & Design มีความสนใจด้าน Water Management, Waste Management and Hybrid Infrastructure เวลาว่างชอบทำประกวดแบบ เล่นแมว และช่วงนี้สนใจเรื่อง Zero-Waste Lifestyle ลดการสร้างขยะ และทำการทดลองปลูก Organic Urban Farm ไว้ที่สวนหลังบ้าน

สามารถติดตามผลงานเขียนอื่นๆได้ ที่ https://dreamaction.co/thesis-mae-kha-canal-from-dumping-sites-to-longest-linear-park-of-northern-thailand/