เปลี่ยนปัญหา เป็นโอกาส : คลองแม่ข่า THE HIDDEN GEMS OF CHIANG MAI

วันนี้จะมาว่ากันด้วยเรื่อง การออกแบบเพื่อเปลี่ยนปัญหาสิ่งแวดล้อม และเมือง ให้กลายเป็นโอกาส ซึ่งเป็น Thesis ปริญญาโท ของ Inspiration Contributor อีกคนของ Dream Action ที่เคยเขียนเรื่องการเรียนปริญญาโท Master of Landscape Architecture, Louisiana State University มาแล้วในบทความที่แล้ว

จอมได้มีโอกาสเป็น Thesis Committee ให้กับทีสิสนี้ของอุ้ยตลอดเทอม ทำให้ได้เห็นการพัฒนาและคุณค่าของงานที่เติบโตจนพร้อมที่ส่งต่อแนวคิด ข้อมูลดีดี และงานออกแบบที่ไม่ใช่แค่มีคุณภาพ แต่ยังคว้ารางวัลแนวหน้าระดับประเทศอเมริกาในปี 2016 นี้มาแล้วอีกด้วย ไปดูกันเลยกับ Thesis ของอุ้ย ให้อุ้ยมาเล่าด้วยตัวเองค่ะ

“MAE KHA CANAL : THE HIDDEN GEMS OF CHIANG MAI

From City’s Dumping Site……to The Longest Linear Park in The North of Thailand”


ก่อนอื่นค่ะ อุ้ยก็ต้องขอแสดงความยินดีกับเมืองเชียงใหม่ที่ได้รับการโหวตจาก US-based Travel + Leisure magazine ให้เป็น 2016 The Best City in Asia and The Second of The World’s Best Cities. (ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.travelandleisure.com/worlds-best/cities) อีกทั้งปีนี้ก็มีการเฉลิมฉลองสมโภช720ปีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย

เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกเหนือจากความสำคัญของเมืองแล้วเชียงใหม่ยังอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโบราณของล้านนา วัฒนธรรมพื้นถิ่น ความงดงามของธรรมชาติไว้อย่างดี อีกทั้งมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย อาหารท้องถิ่นขึ้นชื่อ และความน่ารักของชาวเชียงใหม่ ทั้งหมดนี้และอีกมากได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกกว่า 8 ล้านคนเลยค่ะ…….แต่จะมีใครรู้บ้างว่าในเมืองเชียงใหม่นั้นมีคลองแม่ข่าไหลผ่านใจกลางของเมืองที่กำลังประสบปัญหาความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง นี่ก็เป็นสาเหตุให้อุ้ยสนใจมาทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับคลองแม่ข่าและการพัฒนาที่ยั่งยืนค่ะ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

โครงการวิทยานิพนธ์นี้ได้ความร่วมมือจาก Louisiana State University Thesis Advisor, Prof. Austin Allen และคณะ Thesis Commitee members: Prof. Diane Allen, อ.ดร.มานพ แก้วโมราเจริญ อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักวิจัยที่ CENDRU (Civil Engineering Chiang Mai University Natural Disaster and Research Unit) และพี่จอมค่า อีกทั้งต้องขอขอบคุณ รศ.ดร.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าวิจัย CENDRU และทีมพี่ๆสถาปนิกคนใจบ้าน เชียงใหม่ที่ช่วยเหลือด้านข้อมูลและพาไปดูพื้นที่คะ Creating Sustainable Future of Mae Kha Canal in Chiang Mai, Thailand
Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Project Statement

คลองแม่ข่ามีความสำคัญและมีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่สร้างเมือง แต่เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาเมื่อการคมนาคมทางรถมาแทนการคมนาคมทางน้ำ จากท่าเรือหน้าบ้านกลายเป็นหลังบ้าน อีกทั้งการขยายตัวและพัฒนาเมืองอย่างไร้ระบบ ผู้คนหันหลังและเลิกให้ความสนใจกับคลองที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดั่งสายน้ำแห่งชีวิต ทำให้คลองแม่ข่ากลายเป็นทางระบายน้ำของเมืองประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ ที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิต พืชพรรณ และผู้คนที่อยู่อาศัยโดยรอบ โครงการพัฒนาคลองแม่ข่านี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และการวางผังเมืองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลองแม่ข่า โดยได้นำเสนอแผนการพัฒนาที่จะฟื้นฟูคลองแม่ข่า และแผนการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติผ่านการพัฒนาคลอง เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนานี้คือการเปลี่ยนจากทางระบายน้ำเสียให้เป็นสวนสาธารณะยาวขนาบสองฝั่งคลองที่ยาวที่สุดในภาคเหนือ แต่การที่จะไปสู่ความสำเร็จของแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ต้องเริ่มจากแผนการบำบัดน้ำที่สอดคล้องไปกับผังการใช้ที่ดินเสียก่อน จึงขอเสนอโครงการต้นแบบของการบำบัดน้ำด้วยพืชแบบธรรมชาติ เพื่อเป็นการแสดงความสามารถของงานภูมิทัศน์ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพน้ำ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมในเมืองอีกด้วย

Project Framework

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Project Narrative

ตัวเมืองเชียงใหม่ได้รับน้ำสะอาดมาจากดอยสุเทพไหลจากตะวันตกมาสู่ตะวันออกลงที่แม่น้ำปิง น้ำเหนือนี้จะไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงและแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ระบบน้ำของจังหวัดเชียงใหม่ เช่นพื้นที่ต้นน้ำดอยสุเทพ แม่น้ำปิง คูเมือง คลองประปาถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยกเว้นคลองแม่ข่า โดยเฉพาะในจุดที่ไหลผ่านตัวเมืองมีสีดำคล้ำ ฟองขาว กลิ่นเน่าเหม็นพร้อมกับเศษขยะมากมายที่ลอยปนมาด้วย บางจุดจะเห็นได้ว่ามีการปล่อยน้ำเสียไหลลงมาสู่คลองโดยตรง

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

720 ปีก่อนเมื่อเชียงใหม่ได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา คลองแม่ข่าได้ถูกขุดขึ้นเป็นคลองป้องกันชั้นนอก พร้อมทั้งสร้างกำแพงดิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำปิงในฤดูน้ำหลาก สมัยก่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองเกษตรกรรม มีการปลูกข้าว และมีการค้าขายที่แม่น้ำปิงผ่านประตูท่าแพ ณ ตอนนั้นคลองแม่ข่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การคมนาคม แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมืองเชียงใหม่โตกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรมของทางภาคเหนือ ผู้คนอพยพเข้ามาหางาน ด้วยการที่ขาดการวางผังเมืองที่ดี ทำให้ผู้คนมาตั้งถื่นฐานริมคลองแม่ข่าอย่างแออัด ทำลายกำแพงดินและคุณภาพน้ำในคลอง จนทำให้ปัจจุบันเมืองมีความหนาแน่น พื้นที่สีเขียวหายไป คลองแม่ข่าแคบลงและมีสภาพเสื่อมโทรมโดยเฉพาะจุดที่ไหลผ่านตัวเมือง ทำให้คลองแม่ข่าไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องเมืองและไม่สามารถเป็นดั่งสายน้ำแห่งชีวิตได้อีกต่อไป

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

การวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของเมืองมีผลต่อคุณภาพน้ำเสียของคลองแม่ข่า ทำให้เกิดคำถามต่อว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำเสีย? คุณภาพน้ำในคลองแม่ข่าเป็นอย่างไร? มีสารอะไรปนเปื้อนอยู่บ้าง?

จากการศึกษาและสัมภาษณ์สาเหตุหลักที่ทำให้คลองแม่ข่าคือ การทิ้งน้ำเสียและการขาดการจัดการน้ำ คุณภาพน้ำในคลองแม่ข่าถูกจัดอันดับให้อยู่ในประเภทที่5 คือ คุณภาพน้ำเสียสูงสุด ไม่สามารถใช้น้ำได้ ใช้ได้เฉพาะการคมนาคม (การกำหนดคุณภาพแหล่งน้ำ กรมควบคุมมลพิษ http://www.pcd.go.th/infoserv/enregstdwater05.html) จากการศึกษาข้อมูลด้านคุณภาพน้ำจะเห็นว่าน้ำเริ่มเสียเมื่อไหลผ่านถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง และเสียเพิ่มขึ้นเมื่อผ่านตัวเมือง จนถึงจุดที่เชื่อมกับลำคูไหวที่มีความเน่าเสียสูงสุด มีค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐานมาก และมีสารปนเปื้อนเช่น อีโคไลน์ ไนเตรต และฟอสฟอรัสอยู่สูงกว่าปกติ มีกลิ่นเน่าเหม็นมากและมีสีขุ่นดำ ผลจากการศึกษาเรื่องคุณภาพน้ำนี้เป็นตัวช่วยกำหนดเขตพื้นที่โครงการ และการศึกษาการใช้พื้นที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพของคลองแม่ข่าที่ได้รับผลกระทบจากการใช้พื้นที่ในรูปแบบต่างๆ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

เพื่อช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางน้ำของเชียงใหม่ อนาคตการพัฒนาของคลองแม่ข่าอย่างยั่งยืนนั้นได้นำเอาหลักการทาง ecological and sustainable approaches มาช่วยพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพน้ำของคลองให้กลับไปดีอย่างเดิม อีกทั้งทฤษฏีของ Sustainable Development ที่มองด้านการพัฒนา social, economics and enviroments ก็ได้ถูกนำมาใช้ด้วย

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

“ในการพัฒนาระดับเมืองคลองแม่ข่านี้จะกลายมาเป็น Chiang Mai Cultural Green Corridor เป็นสวนสาธารณะริมน้ำมีเส้นทางสำหรับจักรยานและคนเดิน ที่เชื่อมต่อเมืองไปยังจุด nodeที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งเป็นการโปรโมทความสัมพันธ์ระหว่าง คน ธรรมชาติและสายน้ำ เป้าหมายของโครงการนั้นคือ 1.พัฒนาคุณภาพน้ำ 2.โปรโมท Green Corridor 3.จัดตั้ง Mae Kha Stewardship program ปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนเคารพและช่วยกันอนุรักษ์คลองโบราณ กำแพงดิน ที่เป็นมรดกล้ำค่าของเมืองที่บรรพบุรุษมอบไว้ ให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ตลอดไป”

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

จากการวิเคราะห์การใช้พื้นที่ และการศึกษา จุด node ที่สำคัญ เพื่อทราบการเชื่อมต่อของเมือง นำมาเป็นปัจจัยในการแบ่งพื้นที่พัฒนา ซึ่งแยกออกเป็น 3 เฟส แต่ละเฟสจะเชื่อมกันด้วย Green Corridor จะเห็นได้ว่า เส้นคลองแม่ข่านี้จะเป็นจุดทางเชื่อมไปยัง node ต่างๆ ของเมือง เมื่อผู้คนมาใช้เส้นทางนี้มากขี้น ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

การแก้ปัญหาน้ำเสียระดับเมือง ได้เสนอแผนการจัดการอย่างเป็นระบบด้วย 3 รูปแบบการบำบัดน้ำที่สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ คือ การบำบัดน้ำด้วย wetlands treatment, urban treatment and household treatment อีกทั้งได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่ ที่มีศักยภาพจะเป็นสวนสาธารณะที่สามารถรองรับการบำบัดน้ำและกักเก็บน้ำได้ด้วย

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

ในการพัฒนาระดับพื้นที่ ได้เลือกรูปแบบการบำบัดน้ำด้วย wetlands treatment มาเป็นโครงการต้นแบบของการบำบัดน้ำด้วยพืช ได้ทำการเลือกพื้นที่ที่อยู่ในการพัฒนาเฟสแรก ซึ่งพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของรัฐ มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสามารถทำการส่งเสริมเรื่อง Green link ของระบบน้ำที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่คือ คูเมือง คลองแม่ข่า และแม่น้ำปิง พื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่สำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและอนุรักษ์น้ำของเชียงใหม่ โปรแกรมของโครงการจะเน้นไปที่การส่งเสริมเรื่องน้ำ เป็นศูนย์การศึกษาเรื่องการบำบัดน้ำ และพิพิธภัณเรื่องความสำคัญของน้ำในวัฒนธรรมของภาคเหนือ อีกทั้งเปิดพื้นที่สีเขียวให้เป็นที่ของชุมชนเป็นศูนย์กลางการดูแลคลองแม่ข่า และเป็นจุด Park node จุดพักผ่อนหนึ่งของ Mae Kha Cultural Green Corridor

อีกทั้งคลองแม่ข่ารูปแบบใหม่จะเน้นไปที่เสริมสร้างbiodiversity , ความสามารถที่ช่วยบำบัดน้ำเสียและชะลอน้ำที่มาจาก urban runoff คลองแม่ข่าใหม่นี้จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวใหม่ของเมือง เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตและพืชพรรณ และเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อของเมืองที่กระตุ้นเศรษฐกิจตลอดเส้นคลองอีกด้วย

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

ด้วยความกรุณาจาก รศ.ดร.ชูโชค และ ดร.มานพ โครงการนี้ได้นำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และประชาชนผู้สนใจ ในงานโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองแม่ข่า ปฏิบัติการ “คืนน้ำใส ฟื้นชัยมงคล ให้น้ำแม่ข่า” เฉลิมฉลองสมโภชเมืองเชียงใหม่720 ปี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2016 ณ วัดชัยศรีภูมิ์ และบริเวณท่าน้ำแม่ข่า (ช่วงแจ่งศรีภูมิ์ – ถนนรัตนโกสินทร์) ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ภาพบรรยากาศงาน http://cendru.eng.cmu.ac.th/maekha/activities/201) ถือเป็นความภาคภูมิใจที่ได้นำเสนอผลงานต่อสาธารณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคลองแม่ข่าและการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ในอนาคต นี่ก็เป็นโครงการเล็กๆที่หวังว่าจะช่วยเป็นแรงผลักดันการพัฒนาคลองแม่ข่าอย่างยั่งยืนค่ะ

Thesis ปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม คลองแม่ข่า สุนันทนา นวลละออ

คลองแม่ข่าใช้เวลาประมาณ 30 ปี เปลี่ยนจากสายน้ำที่ใส สะอาดกลายมาเป็นพื้นที่ระบายน้ำของเมือง จากวันนี้ไปอีก 30ปี หรือน้อยกว่า ถ้าพวกเราช่วยกันอย่างเข้มแข็ง และมีการจัดการโครงการที่ดี อุ้ยหวังว่าเราจะช่วยกันฟื้นฟูคลองแม่ข่ากลับมาสวยงามเป็นดั่งสายน้ำแห่งชีวิต ที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งคะ มาช่วยกันนะคะ #FOMKC Friends of Mae Kha Canal (ตั้งชื่อไว้ก่อนแล้วกันค่ะ) ถ้าอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้เพิ่มเติม ดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ของอุ้ยได้เลยค่ะตามลิงค์นี้ http://etd.lsu.edu/docs/available/etd-04062016-132540/ หรือจะติดต่อมาที่อุ้ยได้เลยค่ะ sunantana.nuan@gmail.com

Project Credits

ต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนและช่วยเหลือในโครงการนี้ค่ะ

Thesis Advisor

Prof. Austin Allen (Louisiana State University)

Thesis Committee Members

Prof. Diane Allen
Dr. Manop Kaewmoracharoen, Faculty at Civil engineering Chiang Mai University
Ms. Ekpanith Naknakorn, Landscape Designer and Founder of Dream Action

CENDRU : Civil Engineering Chiang Mai University Natural Disasters Research Unit
Dr. Chuchoke Aryupong, CENDRU Director

Kon Jai Baan Group : Local Community Architects
Ms. Praewponn sukutsathian, Site Research and Co-ordinator
Mr. Thanawin Wijitporn, Site Research and Survey Guide

Additional Credits

Dr. Danai Thaitakoo, Faculty at Chulalongkorn University
Ms. Christie Mettes, Site Research, University of Utrecht
Ms. Massawee Thaweepworadej, Site Research and CAD-Data
Ms. Jidapa Chayakul, Consultant
Ms. Pamanee Chaiwat, Consultant