Thesis : เทคนิค+Checklist ที่ไม่ควรพลาด ในการทำทีสิสให้เจ๋ง!

เข้าสู่ฤดูกาลของการทำทีสิสอย่างเต็มตัว

หลายหลายคนเครื่องติดกันไปแล้ว และหลายหลายคนก็เริ่มหาลู่ทางในการทำทีสิสปีต่อต่อไป

Dream Action เลยไปชวนรุ่นพี่ของน้องๆคนหนึ่ง ที่เพิ่งผ่านสนามรบนี้มาหมาดๆ เพื่อชวนมาช่วยในการส่งต่อเทคนิคดีดี ในการเตรียมตัวทำทีสิสของเราให้เจ๋ง นั่นคือ ตา ปณิธาน กาสินพิลา ที่เพิ่งเรียนจบจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แต่ไม่ใช่แค่จบมาธรรมดา แต่ทีสิสของตา ยังไปคว้ารางวัลระดับโลก ASLA Student Awards 2016 ในรางวัล Award of Excellence ที่ตาเพิ่งบินไปรับรางวัลมาหมาดๆที่ New Orleans, Louisiana, USA เมื่อ 24 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา (สนใจว่างานทีสิสนี้คืออะไร ไปที่นี่)

ว่าแล้ว ก็มาให้ พี่ตา ปณิธาน ข้อคิด ข้อแนะนำในการทำทีสิสให้เจ๋งๆ พร้อมกับChecklist ในการทำทีสิส ที่จะทิ้งไว้ท้ายบทความ อย่าลืมไป Download ไฟล์ Excel นี้เพื่อเอาไปปรับใช้กันดูค่ะThesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์


สวัสดีค่ะ ชื่อ ตา ปณิธาน กาสินพิลา เป็นนิสิตปีบัณฑิต ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาแนะนำการเตรียมตัวทำทีสิส ซึ่งของแต่ละคนนั้น แตกต่างกันไป แต่ละวิธีการนั้นนำพาไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและกำลังใจที่ดี วันนี้จะเล่าเรื่องวิธีการเตรียมตัวทำทีสิสของตาค่ะ คิดว่าเป็น check list เอาไว้ให้น้องๆ เผื่อที่จะเช็คตัวเองอีกทีว่าเราเตรียมครบถ้วนหรือยังค่ะ

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

1 การเตรียมข้อมูลของไซต์(Site Research) และการไปดูไซต์ (Site Visit)

ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของไซต์ก่อนไปดูไซต์ เช่น การท่องโลกและบินด้วย google earth pro และบิดมุมไปมาเพื่อมอง surrounding โดยรอบของไซต์เรา รวมไปถึงการเข้าถึงไซต์ และประวัติของพื้นที่ก่อนเดินทางไป เป็นต้น

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

การไปดูไซต์ แน่นอนว่าก่อนเดินทางไป เราควรติดต่อคนในพื้นที่โครงการเอาไว้ก่อน หาเบอร์ติดต่อของผู้ใหญ่บ้าน,เจ้าของที่ดิน, เจ้าของโครงการ ฯลฯ เพื่อที่เราจะได้ข้อมูลแบบเชิงลึกและมีความปลอดภัยในชีวิต อย่าเข้าไปดุ่มๆ สุ่มสี่สุ่มห้า และที่สำคัญควรทำเรื่องขออนุญาตก่อนเข้าไปยังพื้นที่นั้นๆก่อนล่วงหน้าจะดีมากค่ะเมื่อไปถึงพื้นที่โครงการที่เราสนใจ สิ่งที่ต้องเตรียมไปคือ กล้องถ่ายรูป, ที่อัดเสียง,สมุดจด เป็นสามสิ่งสำคัญมากมาก ขาดไม่ได้ อย่างแรกคือกล้องถ่ายรูป ถ่ายอะไรบ้าง?

  1. ถ่ายรูปทางเข้าไซต์ตั้งแต่ถนนทางเข้า ไปจนถึงพื้นที่โครงการภายใน โดยถ่ายภาพแต่ละโซนที่แตกต่างกันออกไปภายในไซต์ เพื่อนำมาทำ Visual Analysis และ Accessibility
  2. ถ่ายภาพพืชพรรณ คน และสิ่งมีชีวิต เพื่อที่จะนำมาทำไดคัท ตัดเก็บไว้ เป็นวัตถุดิบในการ photoshop ทำรูปตีฟและรูปด้าน รูปตัดต่างๆในอนาคต
  3. ถ่ายภาพแบบ panorama มุมกว้าง เพื่อที่จะได้เห็น landscape ของพื้นที่ชัดๆ และที่สำคัญ เห็น space ชัดขึ้นด้วย

อย่างที่สองคือ ที่อัดเสียง คือเวลาเราสัมภาษณ์หรือสอบถาม คนในพื้นที่ ควรทำการอัดเสียงเอาไว้เยอะๆ เพราะว่าเราจดเก็บไว้ทั้งหมดไม่ได้ในครั้งเดียว และอย่างสุดท้ายคือ การจดบันทึก เนื่องจากเมื่อเราเข้าใจพื้นที่มากขึ้น เราจึงควรวาดเสก็ตและเขียนบรรยายสั้นในสิ่งที่เราเข้าใจลงไปในสมุด เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

 

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

2 การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และกระดาษ

เนื่องจากยุคปัจจุบัน เราใช้ทั้งโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์และการวาดด้วยมือในการคิดแบบ ผสมผสานกันไป ส่วนใหญ่แล้ววาดด้วยมือออกมาก่อน เป็นแบบร่าง จากนั้นก็อาจจะสเก็ตปรับแก้ไข จนคิดเสร็จจึงนำไปทำต่อในคอมพิวเตอร์

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเตรียมอย่างแรกคือ การมีexternal hard disk เซฟงานเก็บไว้เรื่อยๆ เป็น back up files เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น คอมพิวเตอร์พัง งานหายไปหมด หรือคอมพิวเตอร์ดับไปเอง ยังไงต้องทำใจด้วยกับสิ่งที่เราคาดเดาไม่ได้
ต่อมาคือ การพกกระดาษและดินสอติดตัว เวลาไปไหนมาไหน เวลานั่งกินข้าว นั่งบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้า บางทีเราคิดงานออกและคิดอะไรได้ขึ้นมา เขียนสเก็ตเก็บไว้ อย่างงานของตา ที่เป็น section รูปต่างๆ เกิดจากการสเก็ตภาพในกระดาษที่ร้านอาหารฟูจิ และระหว่างรอการตรวจแบบ เป็นต้น นอกจากนี้ อยากแนะนำว่าให้ปิดคอมพิวเตอร์บ้าง เวลาเรานอนหลับ ก็ปิดคอมซะหน่อย คอมพิวเตอร์ก็ต้องการพักผ่อนเช่นกัน เพราะหลายครั้งที่เราเปิดค้างไว้ข้ามวันข้ามคืน จะรู้สึกได้ว่า คอมจะอืดๆช้าๆ ผิดปกติ

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

3 การเตรียมตัวทำ presentation plates

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์ควรมีการวางแผน อย่างแรกเขียนออกมาคร่าวๆ ก่อนเลยว่าเราจะทำอะไรบ้าง งานทั้งหมดที่ต้องทำมีอะไร แจกแจงให้ละเอียด และเน้นทำอันที่สำคัญๆก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเราเห็นภาพรวมงานแล้ว เรามาแบ่งเวลาของงานแต่ละชิ้น ให้เหมาะสม งานบางชิ้นอาจจะต้องทุ่มเทหน่อย เพราะเป็น high light ของงาน , งานบางชิ้น เป็นแค่ diagram ในการอธิบายงาน ไม่ต้องใช้เวลากับมันเยอะ เป็นต้น

หลังจากที่เราตั้ง schedule งานเรียบร้อย ต่อมาคือการทำงานให้ตรงตามที่เรากำหนดไว้ แม้ว่าความเป็นจริงเรามักจะทำเลยที่เรากำหนดตลอด อย่างตัวตาเอง ทำเลยกำหนดไป 1 วัน ตลอดเลยค่ะ คืนสุดท้ายเลยมักไม่ค่อยได้นอนหรือไม่ก็นอนสัก 2-3 ชั่วโมง

ในเรื่องของการวางแผน พี่จอมมีเขียนไว้เป็นบล๊อค สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมต่อได้แบบละเอียดขึ้นที่นี่ https://dreamaction.co/project-planning-to-hit-deadlines-with-the-best-efficiency/

4 การเตรียมตัวทำ presentation slide

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

การทำ slide ควรคิดไปเลยด้วยว่าแต่ละสไลด์เราจะพูดว่าอะไร เป็น key word สั้นๆ อย่าทำสไลด์แบบว่าใส่ข้อมูลแน่นๆจนเกินไป จะทำให้คนฟังสับสน และไม่เข้าใจ จนนำไปสู่การไม่ตั้งใจฟังในที่สุด เพราะฉะนั้น การทำสไลด์ เป็นสิ่งที่ช่วยในการพูดของเรา ภาพถ่ายภาพเดียว อาจจะอธิบายได้มากกว่า การทำกราฟฟิกบางอันได้ จึงควรเลือกให้ดี คิดให้ดีว่าสิ่งไหนสื่อได้ชัดกว่ากัน ก่อนที่เราจะลงมือทำ productionไป นอกจากนี้ อยากแนะนำให้ทำสไลด์ เป็นคล้ายๆกับ animation (สไลด์กระดึ๊บ) ค่อยๆซูมภาพเข้ามาใกล้มากขึ้น หรือเน้นสีและขนาด ให้แตกต่างกันในสไลด์ถัดไป เพราะช่วยทำให้สไลด์ดูน่าสนใจ และเรียกความสนใจจากคนฟังได้ดี

 

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

5 การเตรียมตัว พูด presentation ในห้องทีสิส

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์ หลังจากที่เราทำ presentation slide ขึ้นมา การฝึกซ้อมพูดเป็นสิ่งสำคัญมากๆ การพูดให้คนเข้าใจงาน ไม่น่าเบื่อ และไม่ให้ข้อมูลเยอะจนเกินไปเพราะไม่งั้นคนฟังจะรู้สึก overload และเลิกฟังไปในที่สุด ควรเน้นพูดคำบางคำในหนึ่งประโยค มีน้ำหนัก ง่ายๆ คือใส่อินเนอร์เข้าไปคะ หรือบางครั้งเว้น หยุดพูดไปเลย คนจะได้รู้สึกว่า “เห้ย มันจะพูดอะไรต่อนะ” “แล้วต่อมาเกิดอะไรขึ้น” คล้ายๆว่า เกิด climax ของภาพยนตร์ แต่ว่าเราเป็นคนกำกับ อย่าพูดข้อมูลเยอะเกินไป พูดเฉพาะอันที่สำคัญ ส่งสายตามองผู้ฟัง คิดว่าเล่าเรื่องเรื่องหนึ่งให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง ถ้าว่างๆ แนะนำลองไปฟัง TED Talk ดูนะ เพราะมันเป็นวิธีการช่วยให้การพูดไม่น่าเบื่อ

 

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

6 การเตรียมทำโมเดล

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์อันนี้ขอเล่าประสบการณ์ที่ fail ในการทำโมเดล เอาไว้เตือนสติน้องๆนะคะ อย่างแรกคือ ขนาดของโมเดลที่เราจะทำ “จะทำสเกลอะไร ?” สำคัญมาก 1:250 , 1:500 , 1:1000 ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นกับ พื้นที่โครงการของเราไซต์เราใหญ่เล็กแค่ไหน หากไซต์ใหญ่มากก็ทำสเกล 1:1000 หรือ 1:2000 ไปเลย อย่าดั้นด้นไปทำสเกล 1:500 หรือ 1:750 อย่างที่ตาทำนะคะ เพราะเวลาการทำโมเดลแค่ 1 อาทิตย์ ไม่ทันหรอกค่ะ ตาลองมาแล้ว เลือกขนาดให้เหมาะกับขีดจำกัดของตัวเองค่ะ อย่างที่สองคือ เลือกว่าจะตัดโมเดลและฐานโมเดลทั้งหมด หรือจะตัดเลเซอร์คัท (Laser cut) หากตัดเองทั้งหมด แนะนำว่าฐานโมเดลเป็นโฟมยางจะดีกว่า ตัดcontour จะได้ง่ายๆ และรวมถึงปักต้นไม้แบบง่ายๆ ส่วนคนที่สนใจทำเลเซอร์คัท ต้องเตรียมไฟล์ Autocad หรือ Adobe illustrateเพื่อทำมาประกอบโมเดลเป็นชิ้น มีความสะดวกรวดเร็วตอนประกอบ แต่ตอนปักต้นไม้นั้น มันต้องตอกตะปูลงไปในกระดาษชานอ้อย อาจจะต้องใช้แรงหน่อยและปวดระบมนิ้วมือ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะใช้ทั้งสองวิธีผสมกันก็ได้ เช่น ตัด contour โฟมยางกับตัดเลเซอร์คัทตัวอาคารต่างๆ รวมถึงทางเดิน ฯลฯ

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

7 การเตรียมทำThesis book

เดินทางมาถึงจุดนี้แล้ว อย่าทิ้งไว้กลางทาง คะแนนบุ้คทีสิสก็มีนะคะ อย่าทิ้งขว้างหรือคิดว่ามันจบแล้ว แต่ละมหาวิทยาลัย มีแบบฟอร์มที่แตกต่างกันไป แต่หลักการจะคล้ายๆกันค่ะ ความสำคัญของการทำบุ้คในความเห็นของตาคือ ช่วยในการศึกษาค้นคว้าให้กับผู้อื่น หรือรุ่นน้องได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการอ้างอิงข้อมูล รูปภาพ บทความ เว็บไซต์ ทฤษฎี หรือแม้กระทั่ง คำพูดของคน สำคัญมากค่ะในการบอกแหล่งที่มา เพื่อให้คนไปสืบค้นต่อแล้วเชื่อมโยงข้อมูล และความรู้ รวมไปถึงการให้เกียรติ ให้เครดิตแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย มากไปกว่านั้นคือ ตัวเราเอง จะได้สรุปความ เรียบเรียงความคิดต่างๆที่ได้จากการทำทีสิส

สิ่งที่อยากแนะคือ ควรทำบุ้คทีสิสไปเรื่อยๆ พร้อมกันกับ การทำ presentation ต่างๆ จบครึ่งเทอมแรก ก็ทำส่งไปเลย หรืออาจารย์เขาจะเรียกให้ส่งเรื่อยๆ ทีละบทสองบท ตั้งใจทำดีๆ ทำให้ละเอียด อ้างอิงให้ถูกต้อง เพราะการทำบุ้คจะช่วยเช็คตัวเราเอง ว่าขาดเหลืออะไรไปบ้าง จะได้หาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งยังช่วยให้เราเรียงลำดับความคิดในหัวได้เป็นอย่างดี

Thesis architecture เทคนิค กับ Checklist ที่ไม่ควรพลาดการทำทีสิสให้เจ๋ง วิทยานิพนธ์ สถาปัตย์

สุดท้าย

นี่เป็นสรุป Checklist เบื้องต้น ที่เป็นในรูปแบบ Excel File จะได้เอาไปปรับแก้ไขกันต่อได้ ลอง Download แล้วเอาไปปรับให้เข้ากับตัวเราเองต่อนะคะ สามารถ Download Checklist ได้ที่นี่ค่ะ