เรียนสถาปัตย์จบมา.. มีทางเลือกเดียวในการทำงานคือ เข้าออฟฟิสไปออกแบบ หรือ เปิดออฟฟิสเองเท่านั้นรึเปล่า? มีเส้นทางอะไรอื่นอีกไหม ที่ยังอยู่ในวิชาชีพ ยังได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา หรือ ต่อยอดไปยังตำแหน่งอื่นๆ แต่ไม่ได้เปลี่ยนวงการ?
เพราะความถนัดของแต่ละคนไม่ได้มีแค่”การออกแบบ” และมันยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมากในวิชาชีพนี้ ที่เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้เช่นกันในวงการของเรา
วันนี้จอมสรุปทางเดินที่มี ณ วันนี้ ที่น่าจะเปิดมุมมองทางเลือกให้ใครหลายหลายคนได้ค่ะ ลองดูในแต่ละข้อเลยนะคะ
1. สาย Design Consultants
สายแรกที่ทุกคนรู้จักดี เพราะว่าคือ “สายออฟฟิส” นั่นคือ เป็นสาย Design services
ซึ่งเป็นสายที่คนที่เรียนจบเราก้าวเดินเข้าไปมากที่สุด เป็นเรื่องปกติ สายนี้ครอบคลุมตั้งแต่ ทำออฟฟิสขนาดเล็กจนถึงใหญ่ รูปแบบงานก็ไปตามแต่ทีม หรือ แต่ละบริษัทจะทำอีก
งานนี้จะเป็นสายออกแบบ ที่ทำการออกแบบตั้งแต่ส่วนวางแผน Schematic Design, Design Development, Construction Document ไปจน Master planning, Vision Plans และ อีกมากมายในระบบการทำงานมีทั้งเรื่องของการจัดการอีกมากมายปนอยู่ แต่Deliverable ที่เป็น Product ของสายนี้คือ Design services, consulting
ทั้งนี้ยังรวมถึง การรับงาน Freelance เองด้วย เนื่องจากงาน freelance แม้ไม่ต้องจัดการกับระบบองค์กรณ์ แต่ระบบการรับงาน ก็เป็นไปในทางเดียวกับบริษัท แต่แค่จะไม่ใช่ขนาดใหญ่แบบนั้น
งานที่ได้มามีทั้งจากภาคเอกชน และ ภาครัฐ ทั้งในและต่างประเทศ
ตัวอย่าง เช่น บริษัทออกแบบต่างๆทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก ตัวอย่างที่นี่เลย
2. สาย Construction Management / Contractor
สาย “ก่อสร้าง” สายนี้ ไม่ใช่ Design-oriented แต่เป็นเรื่องของการจัดการการก่อสร้าง การวางแผนในการก่อสร้างโปรเจคหนึ่งๆ ประสานงาน ถ้าสนใจทำ Construction Management นั้นจะต้องใช้ความเข้าใจในเรื่องของ Waste Management, Logistics, Construction, และ Management ที่อเมริกา สายนี้เป็นสายที่แยกออกมาชัดเจน และ มีรายได้สูงเป็นพิเศษ
ส่วน การรับเหมาก่อสร้าง ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนี้ ในโครงการใหญ่ Constuction manager ไม่ได้จำเป็นว่าต้องเป็น Contractor ด้วยทั้งหมด แต่มีหน้าที่วางแผน ติดต่อว่าจะให้ Contractor คนไหนเข้ามาทำเมื่อไหร่ ต่อด้วยคนไหน และจัดการขนย้ายอย่างไร
3. สาย Developer / Real Estate Developer
สายนักพัฒนา หรือ จริงๆก็เรียกได้ว่า นักลงทุนเนี่ยแหละ เค้าเป็นคนสร้างวิสัยทัศน์ สร้างโครงการ แล้วไปจ้างนักออกแบบ และทำการก่อสร้างต่อ แทนที่จะไปคิด ไปทำเองหมด ก็ทำหน้าที่ ตรวจแบบ และเลือกสรรจนได้ตามเป้าหมายของโครงการ ที่ต้องตอบโจทย์ทั้งด้านการเงิน ไม่ใช่เพียงแค่ความงามของการออกแบบเอาง่ายๆ Developer เป็นนายจ้างของสาย Design/Construction นั่นเอง
สายนี้ ไม่ใช่ Design-Oriented ไม่ได้มานั่งเขียนออกแบบเอง แต่เป็นไปในการมอง Strategy / Money มากกว่า ถ้าชอบการเงิน การบริหาร ไม่ต้องทำออกแบบ..สายนี้ เงินดีทีเดียว
แต่ไม่ใช่ว่าสายนี้จะไม่มีสถาปนิก หรือ นักออกแบบ มีหลายองค์กรที่มี Architect as Developer
ตัวอย่าง เช่น Alloy LLC ที่ New York ที่ก่อตั้งโดยสถาปนิกที่มีวิสัยทัศน์
ไม่นับประสบการณ์จากคนใกล้ตัวในองค์กรณ์ อย่างออฟฟิสที่จอมอยู่ (Design Workshop) หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท ยุคแรกๆเค้าก็ลาออกไปเมื่อปี 2007 ไปเป็น Developer ซะเองเลยก็มีเหมือนกันค่ะ หลังจากที่อยู่กับบริษัทมา 30 ปีแล้วด้วยนะคะ
มันเป็นไปได้!!
4. สาย Education (สายการศึกษา)
เป็นอาจารย์ เป็นนักวิชาการ หรือ นักวิจัย ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม อยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือในระบบการศึกษา หน้าที่แรก หลักๆ คือ สร้างบุคคลากรที่จะเป็นสถาปนิก นักออกแบบในรุ่นต่อต่อไปหน้าที่ต่อมา คือ คิดค้นทฤษฏีใหม่ๆ ทดลองไอเดีย การทำวิจัย ศึกษา ผังแม่บท เพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ และ การศึกษาในสายนี้ต่อไป
ตัวอย่าง เช่น ทุกมหาวิทยาลัยที่มีการสอน สถาปัตยกรรม
หรือ แม้แต่โรงเรียนที่สอนการทำงาน การใช้โปรแกรมในงานออกแบบ หรือ ทำเทรนนิ่งตัวอย่างเช่น D Art school
5. สาย Publication สายสิ่งพิมพ์
นึกถึง Magazine ต่างๆ เช่น Architectural record, Art4D, Metropolis, Landscape Architecture, Topos และ อีกมากมาย..รวมทั้งนิตยสาร Online เช่น Archdaily, DeZeen, Architizer และ อีกมากมายนั่นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีสถาปนิก?
ตัวอย่าง เช่น Marc Kushner ผู้ก่อตั้ง Architizerที่เค้าเรียกตัวเค้าเองว่า..“The Social Architect” เพราะเค้าสร้าง Social media สำหรับ Architect นั่นแหละ
6. สาย Production / Programming / Backend / Visualization / Fabricator / Model Maker
สายนี้กว้าง และแตกออกไปได้อีก ตามแต่นวัตกรรม และ Innovation จะพาไป แต่มันเป็นสายที่สร้างเพื่อ Supports การทำงาน การผลิต ในสายสถาปัตยกรรม เช่น บริษัทที่รับทำภาพ visualization, Video หรือ ทำ Model หลายบริษัทไม่ได้ทำ visualization เอง แต่ตัดงานออกไปข้างนอก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
หรือบริษัท ที่รับทำโมเดลสถาปัตยกรรม ก็ต้องเป็นคนที่มีความเข้าใจในงานเขียนแบบ
ตัวอย่างเช่นModel maker : LMM model maker ที่รับตัดโมเดล
หรือแม้แต่ Programmer ที่ต้องเขียนcode พวกเขาสร้าง plug-in หรือ Computer programs ต่างๆ คิดดู..ว่าถ้าไม่ใช่สถาปนิก จะเข้าใจได้อย่างไร ว่าสถาปนิกต้องการอะไร และมี workflow อย่างไร จนออกมาเป็นโปรแกรมอย่างที่เรารู้จัก เช่น.. Lumion, Grasshopper, land f/x หรือ แม้แต่ extension ต่างๆของ sketchup!!!มันเลยต้องมี สถาปนิกที่ Coding ได้ด้วย อย่างที่ MIT ก็มีสอนสายนี้เลย เป็นสาขาแยก
หรือบริษัทก่อสร้าง ที่ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วย บางคนก็เข้าไปเป็นคนสร้าง ทำโมเดล3D สร้างสถาปัตยกรรม โครงสร้างแบบที่ต้องใช้ Coding มาช่วย
เป็นอะไรที่ได้ไกล และกว้างมาก
หรือ ถ้าเรื่องของ Visualization…
Design Distill เป็นบริษัท Visualization ที่อยู่ใน Boston ที่เป็นการรวมตัวของสถาปนิก นักออกแบบเมือง ที่แทนที่จะเข้าไปทำงานออกแบบในออฟฟิส แต่มาสร้างออฟฟิสที่ visualize งานสถาปัตยกรรมแทน
7. สาย Architectural Products / Sales / Marketing
สายการขาย… ไม่ว่าจะออกมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ แล้วขาย หรือเข้าไปช่วยขายก็จัดว่าเป็นอีก Vendors ที่มาขายวัสดุ และ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะของชิ้นเล็ก วัสดุตกแต่ง ก่อสร้าง ไปจน ขายบ้าน!!!
ตัวอย่าง
Parasoleil เป็น บริษัทที่สร้างมาด้วยนักออกแบบ และมีสถาปนิกร่วมโครงการด้วย และมีสถาปนิกมาเป็น Sales อีกต่างหาก
Products เค้าจริงๆ สถาปนิกหรือภูมิสถาปนิก ก็ออกแบบเองได้ แต่ในหลายกรณี การไปเรียก vendor แบบนี้มาที่มีความเข้าใจในการก่อสร้าง และผลิต panel และติดตั้ง มันสะดวกกว่าในการทำงานร่วมกับพวกเค้า ที่มีอุปกรณ์พร้อม ดังนั้น การจะ custom design ก็ทำได้ไม่ยาก
หลายครั้ง การทำงาน จึงเป็นการทำงานร่วมกับนักออกแบบ สถาปนิก หรือบางทีก็ได้ทำงานกับลูกค้าโดยตรง แต่ความเชี่ยวชาญ จะเป็นไปตาม products ที่ทำงานให้
8. สาย อื่นๆ …. You name it!!!
นอกจาก 7 สายที่ว่า สถาปัตยกรรม สามารถแตกแขนง ย่อยๆออกไปได้อีกมาก อาจจะยังเกี่ยวกับการก่อสร้าง หรือไม่เกี่ยว ทำงานเพื่อสังคม NGO เป็น consultants หรือแม้แต่ไปเป็น Creative ไปทำฉากประกอบภาพยนต์ และ อื่นๆ อีกมากมาย…บางทีคุณอาจจะเป็นอีกคน ที่สร้างสายอีกสาย แยกออกมาก็ได้นะ! มันไม่ได้มีข้อจำกัดหรอกค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยสร้างไอเดียให้ใครหลายหลายคนต่อไปได้ ว่าเราอยากจะอยู่ตรงไหนของ “Architecture flow” นี้นะคะ
เห็นไหมว่า ส่วนมากเรา Focus ตรงข้อแรกว่าเป็นทางเลือกของเราในการจะทำงานในสายสถาปัตยกรรม แต่จริงๆแล้วมันมีอะไรที่กว้างมากกว่านั้นเยอะ
และถ้าอยากรู้ว่า ถ้าไม่ทำงานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโดยตรงเลย เค้าไปทำกันได้เพราะว่าจบสถาปัตย์มาพร้อมกับสกิลที่มองไม่เห็นเหล่านี้ ไปดู…. 7 ข้อที่การ เรียนสถาปัตย์ ให้คุณเป็นมากกว่า “สถาปนิก” กันค่ะ
บทความนี้สร้างขึ้นมา เพื่อตอบคำถามน้องสถาปัตย์ที่เรียนอยู่ตอนนี้ค่ะ หากใครมีคำถามอะไรก็ฝากไว้ได้นะคะ จะหาเวลาจัดคำตอบให้ตามสมควรค่ะ