วันนี้จะขอแนะนำให้รู้จัก เจิ้น ภูมิสถาปนิกสาว เธอจะพาเราไปตะลุยงาน LAF Summit หรือ Landscape Architecture Foundation ที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา งานนี้ไม่เหมือนกับงานภูมิสถาปนิก (ASLA) หรือ งานสถาปัตย์ (AIA) ปกติที่มีทุกปี หัวข้อปีนี้คือ Summit for Landscape Architecture and the Future ซึ่งการจัดประชุมนี้ยังค่อนข้างใหม่มาก และก็ยังไม่ได้มีใครจากประเทศไทยเรามาร่วมบรรยาย แต่ว่าตอนนี้ถึงเวลาตั้ง Radar จับตามองการประชุมนี้ เพราะว่างานนี้น่าสนใจมากค่ะ
ว่าแต่มันจะเจ๋งยังไง? ขอส่งไม้ต่อให้น้องเจิ้น ผู้ที่เข้าร่วมงานนี้มา ให้เจิ้นเล่าให้ฟังกันเลยค่ะ
Photo from www.lafoundation.org
สวัสดีค่ะ ชื่อ วิภาวี ศิริวัฒนอักษร ชื่อเล่นชื่อเจิ้นค่ะ เพิ่งรับปริญญาจาก Harvard University Graduate School of Design สาขา Master in Landscape Architecture
เมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปร่วมงานการประชุมสุดยอด Landscape Architect หรือ LAF Summit โดย LAF (Landscape Architecture Foundation) จัดขึ้นที่ University of Pennsylvania ระหว่างวันที่ 10-11มิถุนายนที่ผ่านมา เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ที่ได้รับให้เพื่อนๆฟัง
เริ่มจากสิ่งที่ไม่ประทับใจก่อนเลย เพราะหลักๆมีข้อเดียว คือ บัตรค่าเข้างานสำหรับนักศึกษาราคา $200 หรือ 7000บาท ซึ่งก็แน่นอนว่าทำให้นักศึกษาหลายๆคนไม่สามารถเข้าไปฟังได้ มีเพื่อนสนใจอยากมาฟังแต่ไม่มีปัจจัยตรงนี้ เค้าเลยเอาโต๊ะปิกนิกมาตั้งกับเก้าอี้ชายหาด รออยู่หน้าห้องประชุม เพื่อสอบถามfeedbackของงานและเก็บข้อมูลดิบกับผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกจริงๆมาถึงเรื่องความประทับใจบ้าง
การรวมตัวกว่า 700 ชีวิต ของ ภูมิสถาปนิก
เรื่องแรกเลยคือแค่มีงานนี้ขึ้นมาได้ก็ประทับใจแล้วค่ะ เกิดมาไม่เคยเห็นภูมิสถาปนิกมากถึง 700 ชีวิตรวมกัน คนที่มามีตั้งแต่อายุ 20กว่าไปจนถึง Cornelia Orlander ที่อายุ94แล้วและยังactiveในfield มากกว่าว่าใครมีความเห็นอย่างไร คือการที่ทุกคน show up มันทำให้เห็นพลัง และความรักในวิชาชีพ ความต้องการที่จะพัฒนาวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม
รู้หรือไม่ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีภูมิสถาปนิกเพียงแค่ 15,000 คน! แต่มีเมืองทั้งหมดเกือบ 20,000เมือง มีarchitect 100,000กว่าคนและมี civil engineerอีก 200,000กว่าคนSpeakers ทั้งหมดมีถึง70กว่าคน มาจากหลากหลายภูมิภาคเช่น South America, India หรือ Oceana จากหลากหลายประเทศเช่น New zealand, Chile, India, China ยังไม่เห็นตัวแทนจากละแวกบ้านเรา South East Asia ในเวทีนี้แต่หวังว่าจะได้เห็นกันในเวทีต่อๆไปค่ะ
สิ่งที่ประทับใจคือ panelสุดท้าย ที่เปิดโอกาสให้ Olmsted Scholars คือ Landscape Architectsรุ่นใหม่พี่เพิ่งเรียนจบไม่นาน ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่พวกเค้าสนใจเกี่ยวกับfieldนี้ และคนที่ได้รับรางวัลในปีนี้คือเพื่อนร่วมชั้น Azurra Cox
ถึงจะฟังดูเป็นการเป็นงานด้วยรูปแบบการประชุม แต่บรรยากาศในงานอบอุ่นเหมือนงานรวมรุ่น งานเจอเพื่อนเก่า เพราะสังคมภูมิสถาปัตย์ ยังไม่ได้ใหญ่มากและหลายๆคนก็ฝึกงานและเรียนมาจากที่เดียวกัน เชิญกันไปพูดในสถาบันต่างๆของแต่ละคน เวลามางานแบบนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับภูมิสถาปนิกรุ่นใหม่อย่างเราที่จะได้มาเจอผู้คร่ำหวอดในวงการ เป็นโอกาสได้เจอนักออกแบบที่เราชื่นชอบผลงานของเค้า ได้ขอคำแนะนำดีดีจากรุ่นพี่รุ่นน้อง ได้พูดคุยกับหลากหลายนักออกแบบ Kongjian Yu จากTurenscape
ครั้งนี้ก็ได้แอบแว๊บไปดูงานของนักเรียนที่ University of Pennsylvania School of Design ได้เยี่ยมชม Architectural Archives ซึ่งได้ดูงานsketchของหลายๆคนดังเช่น Lawrence Halprin หรือ Louis Kahn Sea Ranch sketch by Lawrence Halprin
ภูมิสถาปนิก คือ นักกิจกรรม ; นักปฏิบัติการ Landscape Activism
Landscape Activism หัวข้อนี้ได้รับการtweetมากที่สุดจากการประชุม มีหลายคนพูดถึงแต่คนที่ชัดเจนมากมากคือKate Orff ที่บอกว่า “interested in making publics, not projects” Kate OrffจากSCAPEบอกว่า เค้าไม่ได้สนใจการทำโปรเจกแต่เค้าสนใจการสร้าง publics สร้างสังคม วัฒนธรรม และ เค้าสนใจที่จะทำมันให้ยั่งยืนโดยตั้งคำถามและหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้communityนั้นๆรู้สึกเป็นเจ้าของ อยากพัฒนาสังคมของเขาเอง นั่นคือความสำเร็จที่ยั่งยืน เช่นโปรเจก103rd Street Community Garden แทนที่จะจ้างรับเหมาก่อสร้างทั้งหมด SCAPEเลือกที่สร้างมันขึ้นมาเองร่วมกับคนในพื้นที่อีกคำแนะนำที่ดีคือการใช้โอกาสในงานออกแบบทุกๆงานให้เป็นการทดลองอะไรใหม่ๆ ให้ทำเป็นเหมือนpilot project เพื่อที่จะนำโมเดลที่สำเร็จไปปรับใช้และscale impactให้ใหญ่ขึ้น ทำให้เข้าใจว่าการวาดรูปหรือเรนเดอร์งานเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของงานในการเป็นlandscape architect Kate Orffจบการปราศรัยโดยบอกว่า หลังจากพูดพร่ำทำเพลงกันแล้ว เราควรกลับไปทำงานกันต่อได้แล้ว Let’s Get To Work !
ภูมิสถาปัตยกรรม สร้าง จุด เปลี่ยนเมือง Urban Acupuncture
Firmอื่นๆที่ทำงานแนวactivistเช่น Tim Duggan จากPhronesisที่มองเห็น disaster = opportunity ยิ่งในเมืองที่คนทิ้งร้าง หรือเมืองที่ประสบ natural disasterเช่น New Orleans เมืองนั้นคือโอกาสอันดีในการเปลี่ยนแปลง เค้าเรียกstrategyนี้ว่า urban acupuncture แปลเป็น จุด เปลี่ยนก็คงได้ เพราะเมื่อใช้งานออกแบบถูกจุด สังคมตรงนั้นเปลี่ยนทันที
การออกแบบพื้นที่และการใช้งานในโปรเจ็ค urban revitalization at Bancroft School พิสูจน์ว่าสามารถลดจำนวนโจรขโมยและอาชญากรรมในพี้นที่ เปลี่ยนจากโซนอันตรายให้เป็นมุมที่ปลอดภัยและน่าอยู่ในเมือง จากผลงานเหล่านี้ทำให้คนในภาครัฐแนะนำว่าอยากให้มีภูมิสถาปนิกเข้ามาทำงานในภาครัฐมากขึ้น เพราะจะได้มีสิทธิมีเสียงในการร่างนโยบาย ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรูปแบบของงานและscopeงานของภูมิสถาปัตยกรรม
ทำไมงานต้องสวย ?
เรื่องที่ทุกคนพูดถึงคือเรื่อง aesthetic และ beautification ของงานออกแบบ หัวข้อนี้อาจจะฟังดูเหมือนไม่ใช่หัวข้อที่เป็นทางการสักเท่าไหร่แต่กลับเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกๆคนให้ความสำคัญ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่างานออกแบบกับความสวยงามเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะมันคือการสร้างอัตลักษณ์ Identity ของพื่นที่นั้นๆด้วย นี่เป็นหัวข้อที่ Beth Meyer คณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์จาก University of Virginia กล่าวตอนเปิดงาน Bethพูดถึงแคมเปญ Beautification ที่First Ladyในยุคประธานาธิบดี Lyndon B Johnson คือ Lady Bird Johnson ผลักดันอยากทำให้อเมริกา“สวย”ขึ้น Lady Bird Johnson “Beautification Campaign” , Credited photo from (Arthur Ellis/The Washington Post)
“ความสวย”มาพร้อมมทัศนียภาพและสุทรียภาพ ที่ทำให้การอาศัยอยู่ในเมืองเปลี่ยนไป เปลี่ยนตั้งแต่สิ่งที่เห็นที่คือเมืองที่เป็นระเบียบ มองแล้วสบายตา อากาศที่สะอาด พื้นที่สีเขียว การจัดพื้นที่เพื่อสาธารณะประโยชน์ การลดมลพิษทางเสียง อากาศ และ น้ำ เพราะฉะนั้นความ “สวย” นี้มาพร้อมกับ aesthetic of articulation ทำให้เมืองeligibleมากขึ้น Lady Birdเป็นคนผลักดันโปรเจกอย่างเช่นการลดbillboardsตามแนวทางด่วน แต่ให้ปลูกต้นไม้ตลอดแนวทดแทน Aesthetics Panel with Ken Smith, Maria Goula, Chris Reed, Mikyoung Kim, Claude Cormier, and Adam Greenspan
หัวข้อนี้ทำให้นึกถึงอาจารย์ที่เคยบอกว่าถ้าขาดsensibilityตรงนี้ไป มีแค่วิศวะโยธากับนักนิเวศวิทยาก็คงพอ อาจไม่จำเป็นต้องมีภูมิสถาปนิก เพราะวิศวกรทำงานefficient และถูกกว่า
Marc Treib อาจารย์จากมหาวิทยาลัยUniversity of California, Berkeley กล่าวว่า การสร้างผลงานที่ยั่งยืนสามารถทำไปพร้อมๆกับการทำให้งานนั้นสวยงามไปด้วย ภูมิสถาปนิกจะต้องเพิ่มมูลค่าของงานจาก pragmatic to the level of poetry
การร่วมมือ ความหลากหลาย Collaboration and diversity
ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องของการทำงานร่วมกัน ไม่ใช่แค่กับexperts เช่น วิศวกร หรือ นักนิเวศวิทยา แต่กับภาครัฐ ภาคเอกชน และต้องร่วมกับคนในพื้นที่ด้วย Nina-Marie Lister ยังพูดถึงการออกแบบที่ต้องคำนึงถึง อีก2.5ล้านspeciesของสิ่งมีชีวิตที่เราshareโลกนี้อยู่ด้วย เพราะความดิบหรือความwildก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นเรา หลายคนสนับสนุนให้มีการปรับปรุงการสื่อสารของคนในวิชาชีพกับคนข้างนอก เราต้องไม่ใช้jargon หรือภาษาที่มีแต่สถาปนิกเข้าใจแต่ใช้ภาษาที่เข้าถึงกลุ่มคนโดยกว้างได้ หลายๆคนเน้นย้ำถึงการสนับสนุนให้มีความหลากหลายหรือdiversityของคนที่ประกอบวิชาชีพนี้Nina Marie Lister “Of Wilderness, Wild-ness and Wild Things”
จาก 50 ปีที่แล้ว
จากการประชุมครั้งแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ประกอบไปด้วยการรวมตัวของ White males 6 คน ทุกคนเห็นชัดเจนว่าในการประชุมครั้งนี้มี representativeจากผู้หญิงและคนจากหลากหลายเชื้อชาติมากขึ้นเยอะมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในpanelด้านการศีกษาซึ่งทุกคนเห็นว่าเป็นนิมิตหมายอันดี From left to right: Cornelia Oberlander, Julie Bargmann, Martha Schwartz, Beth Meyer, Anita Berrizbeitia
การสนับสนุนให้มีความหลากหลายตรงนี้ จะนำมาซึ่งความหลากหลายทางผลงานและความคิด ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพ Gina Ford Principal จากSasaki กล่าวว่าคนทำงานที่หลากหลาย จะนำมาซึ่งclientsและโจทน์ที่หลากหลาย นี่จะเป็นตัวผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ Ginaยังกล่าวว่าตอนนี้มีการเพิ่มจำนวนประชากร Black และ Hispanic ในประเทศและเราควรผลักดันให้มีภูมิสถาปนิกจากกลุ่มนี้มากขึ้น หลายคนกล่าวถึงการทำงานร่วมกันในโปรเจกที่ทำนอกประเทศว่าเราต้องทำงานร่วมกับคนพื้นที่จริงๆโดยไม่เอาตรรกะหรือระบบการทำงานแบบอเมริกาหรือโลกตะวันตกไปใช้ แต่เรียนรู้ที่จะฟังคนในพื้นที่ ถึงแม้จำนวนของภูมิสถาปนิกจะมีน้อยมากแล้วในอเมริกา แต่ยังน้อยลงไปอีกในประเทศอื่นๆ Mario Schjetnan ภูมิสถาปนิกจาก Mexico กล่าวว่าประเทศเค้ามีภูมิสถาปนิกเพียง 1,000คน ถ้าเทียบกับสถาปนิกซึ่งมีจำนวนถึง 150,000คน
ทำไปเพื่อ…
เมื่อ50ปีที่แล้ว Declaration of Concernเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในประเทศอเมริกาเท่านั้น แต่มาวันนี้ปัญหาใหญ่ๆอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและภูมิสถาปนิกควรจะทำงานในภูมิภาคให้มากขึ้น David Gouverneurภูมิสถาปนิกพูดถึงการออกแบบเพื่อรองรับ informal communities คือการออกแบบสำหรับระบบที่ต้องปรับตัวได้ง่ายต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในยุคปัจจุบันด้วย strategy Informal ArmatuInformal armature by David Gouverneur
Alpa Nawreกล่าวว่าเราต้องออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ที่มีระบบสามารถบริหารจัดการกับทรัพยากรได้ เพราะปัญหาทรัพยากรเช่นน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในโลกยิ่งในGlobal South ยังมีคนกว่า100ล้านคนที่ไม่มีนำ้สะอาดใช้อย่างเช่นในประเทศอินเดีย
Alpa Nawre “Developing Landscape of Resource Management”
ความน่าสนใจของการออกแบบทางออกของปัญหาเหล่านี้จะช่วยตอบคำถามที่ใหญ่กว่าการทำโปรเจ็ก นั่นก็คือการตอบคำถามที่ว่าเราออกแบบไปเพื่ออะไร มันมีagendaอะไรที่เราต้องการจะachieve ที่สร้างimpactต่อชุมชน ต่อระบบนิเวศ โดยใช้งานออกแบบเป็นเครื่องมือซึ่งจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสังคมและโลก มีspeakerคนหนึ่งบอกว่า clientที่แท้จริงของเราคือโลกใบนี้
DECLARE
หนึ่งสิ่งที่เราต้องทำ คือการประกาศต่อสังคมว่า เราคือภูมิสถาปนิก ผลงานจากวิชาชีพนี้สร้างimpactอะไรบ้าง ดูแลระบบนิเวศ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเมืองยังไง ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ “it takes human hand that take care of nature” แต่จะทำให้นักลงทุนสนใจ เราต้องมีตัววัดความคุ้มค่าของการลงทุนและผลประโยชน์ที่สังคมได้รับอย่างชัดเจน เรื่องนี้สำคัญมากๆเพราะการที่เรามีตัววัดความสำเร็จและผลกระทบจากงานที่เราสร้างจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของวิชาชีพไม่เพียงแต่ให้คนข้างนอกแต่ให้คนในวิชาชีพเองด้วย การวัดผลได้สามารถสร้างvalueที่วัดได้จริง การวัดความสำเร็จจะช่วยในด้านการออกแบบครั้งต่อๆไปเพื่อให้เกิดผลที่ตรงจุด ตอบโจทน์และยังสามารถเก็บเป็นกรณีศึกษาที่ดี ในปีที่ผ่านมาทางLAF ยังได้มีการlaunch landscapeperformance.org เพื่อเก็บcase studiesจากimpactsของงานภูมิสถาปัตยกรรม อีกทั้งยังprovideวิธีการคิดและเครื่องมือในการวัดผลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อภูมิสถาปนิก
ความเป็นมาของ LAF
“A sense of crisis has brought us together. What is merely offensive or disturbing today threatens life itself tomorrow. We are concerned over misuse of the environment and development which has lost all contact with the basic processes of nature… A key to solving the environmental crisis comes from the field of landscape architecture, a profession dealing with the interdependence of environmental processes” I. McHarg, C. Miller, G. Clay, C. Hammond, G. Patton, and J. Simonds. 1966. A Declaration of Concern
https://dirt.asla.org/2016/03/23/has-landscape-architecture-failed/
การประกาศของ LAF เกิดขี้นครั้งแรกในปี 1966 การตีพิมพ์ประกาศความกังวล Declaration of Concern ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสังคมขนาดใหญ่ในยุคของความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา พร้อมๆกับกจัดตั้งภารกิจของมูลนิธิ Landscape Architecture Foundation ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม และ การสูญเสียคุณภาพของชีวิตที่แพร่หลายในเมือง หนึ่งในภูมิสถาปนิกที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันการประกาศนี้คือ Ian McHarg ที่เขียนหนังสือ Design with Nature
มูลนิธิ LAF สนับสนุน การดูแลรักษา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อม ลงทุนในการวิจัย และทุนการศึกษาเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของภารกิจอย่างยั่งยืน การกลับมารวมตัวกันของภูมสถาปนิกในครั้งนี้เพื่อevaluateผลงานที่ภูมิสถาปนิกที่ได้ทำกันมาตลอด50ปี และ เปิดการปฐกถากันในหัวข้อการประกาศของภูมิสถาปัตกรรมและอนาคต New Landscape Declaration: A Summit on Landscape Architecture and the Future กับปัญหาที่เราเผชิญกันในยุคปัจจุบันและทิศทางของภูมิสถาปัตยกรรม ต่อจากนี้ควรเป็นไปในทิศทางใดในอีก50ปีข้างหน้า การทำงานในยุค21st centuryควรมีรูปแบบอย่างไร มีจุดไหนที่เราทำได้ดีแล้วและมีจุดไหนที่เราควรจะปรับปรุงเพื่อขับเคลื่อนวิชาชีพให้ตรงกับปัญหาของโลกในยุคปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
https://lafoundation.org/about/declaration-of-concern/
https://dirt.asla.org/2016/06/16/the-new-landscape-declaration-visions-for-the-next-50-years/?platform=hootsuite
https://dirt.asla.org/2016/06/16/the-new-landscape-declaration-looking-back-over-the-past-50-years/?platform=hootsuite
บทความ เขียนโดย วิภาวี ศิริวัฒนอักษร (เจิ้น)