FAQ : การเตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์

คำถามยอดฮิต ในการเตรียมสอบความถนัดทางสถาปัตย์!! และการสอบเพื่อ เข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มีน้องน้องม.ปลายหลายคนสอบถามเข้ามา เกี่ยวกับเรื่องข้อมูลการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ต้องใช้วิชา “ความถนัดทางสถาปัตย์” วันนี้เลยมีข้อมูลเบื้องต้น จากคำถามยอดฮิตที่ถามกันบ่อยมาก เอามารวบรวมคำตอบไว้ให้

1-อ่านหนังสือเล่มไหนดี?

เตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตยกรรม

จริงๆมีหนังสือหลายเล่ม หลายสำนัก แต่ว่าเล่มที่ใช้กันกว้างขวางคือ “หนังสือเล่มดำ” หรือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือนี้ ได้ที่นี่เลยhttps://alepaintschool.wordpress.com/2014/08/27/ติวสถาปัตย์-ความถนัดทาง/

 

2-มีเนื้อหาที่ต้องเตรียมตัว ต้องรู้อะไรบ้าง?

เตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมเนื้อหาเบื้องต้นมีประมาณนี้

  1. ส่วนประกอบที่สำคัญในการออกแบบ (ELEMENTS OF DESIGN) ได้แก่เรื่องเส้น (Line) ทิศทาง (Direction) รูปทรงและรูปร่าง (Form & Shape) ขนาดและสัดส่วน (Size & Proportion) วัสดุและพื้นผิว (Material & Yexture) สีและค่าน้ำหนักอ่อนแก่ (Color & Tone) มวล (Mass) และที่ว่าง (Space)
  2. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์และหลักการออกแบบพื้นฐาน (COMPOSITION & BASIC DESIGN) ประกอบด้วยเรื่องดุลยภาพ (Balance) เรื่องเอกภาพ (Unity) เรื่องจังหวะ (Rhythm) เรื่องความกลมกลืน (Harmony) ความขัดแย้ง (Contrast) และเรื่องจุดเด่นในการจัดภาพ (Dominance)
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ (Human Scale) ความเข้าใจสัดส่วนของส่วนประกอบของอาคารพื้นฐาน เช่นสัดส่วนของบันได ประตู หน้าต่าง ทางเดินเท้า หรือเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป โดยให้ศึกษาเปรียบเทียบกับสัดส่วนในการใช้งานของมนุษย์
  4. ความรู้พื้นฐานเรื่องการจัดสวนและพันธุ์ไม้ ควรศึกษาเรื่องประเภทของพันธุ์ไม้ที่ใช้ในการจัดสวน เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ในร่ม ไม้แดด ไม้พุ่ม ไม้ในร่มเงา ฯลฯ
  5. โครงสร้างอาคารพื้นฐาน (Basic Construction) เช่นส่วนประกอบของฐานราก พื้น หลังคา บันได ประตู หน้าต่าง ฯลฯ
  6. ลักษณะของเรือนไทย (Thai Architecture) ประกอบด้วยเรื่อง โครงสร้างของเรือนไทย เหตุผลตามสภาพภูมิอากาศและประโยชน์ใช้สอยของสถาปัตยกรรมแบบไทย
  7. สถาปัตยกรรมเมืองร้อน (Tropical Architecture) ประกอบด้วยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในเขตเมืองร้อน ได้แก่ ความร้อนและแสงแดด กระแสลม และการระบายอากาศ แสงสว่าง เสียง ความชื้น และฝุ่นละออง ควรศึกษาถึงลักษณะของสภาพแวดล้อมเหล่านี้ และการแก้ปัญหาในการลอกแบบสถาปัตย์
  8. ประวัติศาสตร์และสถาปัตย์ตะวันตก ควรศึกษาลักษณะของสถาปัตยกรรมยุคสมัยต่าง ๆ เช่น ยุคก่อนประวัติศาสตร์, สมัยอียิปต์, สมัยเมโสโปเตเมีย, สมัยกรีก, สมัยโรมัน, สมัยคริสเตียน, สมัยไปเซนไทน์, สมัยโรมาเนสก์, สมัยโกธิค, สมัยเรอเนซองค์, สมัยบารอค รอคโคโค และการเข้ายุคใหม่
  9. ประวัติศาสตร์ศิลปและสถาปัตย์ของไทย แบ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย (ทราราวดี, ศรีวิชัย และ ลพบุรี) และยุคประวัติศาสตร์ไทย (เชียงแสน, สุโขทัย, อู่ทอง, อยุธยา และรัตนโกสินทร์)
  10. ทฤษฎีสี รวมเรื่องจิตวิทยาของสี และการใช้สีในงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบทั่วไป
  11. การเขียนแบบพื้นฐาน ได้แก่ การเขียนภาพไอโซเมตริค (Isometric) การเขียนแบบแสดงรูปด้าน (Orthographic Projection) และการเขียนแบบทัศนียภาพ (Perspective)
  12. การวาดเส้นและการลงน้ำหนักแสงเงา รวมถึงการใช้ลายเส้น หรือทีของดินสอ ในการแสดงแบบทางสถาปัตย์
  13. หลักการเขียน ทัศนียภาพ และการเขียน PRESENTATION ต้องมีความเข้าใจเรื่องการจัดองค์ประกอบและมุมมองของภาพ และฝึกเขียนสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศ (Presentation) ให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สมจริง ในแบบ (Style) ของงานสถาปัตยกรรม เช่น การเขียน คน รถยนต์ ต้นไม้

 

3-สอบอะไรกัน? ต้องเรียนสายวิทย์ไหม? มีตัวอย่างข้อสอบไหม?

เตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตยกรรม

หลายมหาวิทยาลัย(ส่วนมาก) ต้องใช้วิชาฟิสิกส์ที่เรียนในสายวิทย์ ทำให้ถ้าเรียนสายวิทย์มาก็จะมีหลายตัวเลือกมากกว่าจริงๆ แต่ทั้งนี้ต้องดูแต่ละโรงเรียนไป ว่าจะต้องใช้วิชาอะไรสอบ สมัครบ้าง

เนื้อหาเบื้องต้นมีประมาณนี้อันนี้มีคนเขียนรวบรวมไว้ใน ลองอ่านกันดูต่อได้ค่ะhttp://www.dek-d.com/board/view/3478397/

แต่ถ้าจะให้ดีต้องเข้าไปเช็คในมหาวิทยาลัยที่เราสนใจจะเข้า ว่าเค้ามี Requirement อะไรในการรับเข้าศึกษา จะตรงสุดสุดค่ะ

นอกจากนั้น…ลองดูตัวอย่างข้อสอบ pat4http://www.tlcthai.com/education/exam/pat4_2552.pdf

สอบที่ไหน? ไป http://www.niets.or.th/th/catalog/view/246

 

4-ต้องมีอะไรติดตัวไปสมัครสอบสถาปัตย์บ้าง?

เตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมเนื้อหาเบื้องต้นมีประมาณนี้สรุปสิ่งหลักที่ต้องมี

1.ความถนัดทางสถาปัตย์: เป็นวิชาที่ต้องสอบเข้า ในการเตรียมความพร้อมสามารถมองได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆคือ

  • Knowledge : องค์ความรู้พื้นฐาน สามารถหาได้จากการอ่าน ทำแบบฝึกหัด ติว
  • Skill: ทักษะการวาดก็จำเป็นต่อการสอบมากเช่นกัน สามารถเตรียมตัวได้จากการหัดวาดทุกวัน ในแบบที่สอดคล้องกับการสอบความถนัดทางสถาปัตย์

2.ผลงาน – portfolio : สมุดแสดงผลงานของเรา เพื่อแสดงความรู้ ความสามารถ ความสนใจในด้านการออกแบบ และทักษะการสื่อสารทางความคิด ผ่านการวาด หรือสื่ออื่นๆ

3.คะแนนสอบ : ต้องสอบได้ตามเกณฑ์ ที่แต่ที่จะแตกต่างกันไป

5-ปกติเค้าต้องทำอะไรบ้าง เวลาเตรียมตัวสมัคร สอบเข้าสถาปัตย์ (example to do list)

เตรียมสอบ ความถนัดทางสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมเนื้อหาเบื้องต้นมีประมาณนี้

TO-DO (MUST DO!!) ต้องทำ !

  • อ่านหนังสือ ความรู้เกี่ยวกับความถนัด
  • ทำแบบฝึกหัด
  • วาดทุกวัน
  • สร้างงานใส่ portfolio
  • ทำ portfolio
  • ดู vdo ติวความถนัดทางสถาปัตย์ และทำตาม
  • เตรียมสอบวิชาหลักอื่นๆด้วย เช่น พวก Gat

SHOULD DO!!! ควรทำ ! (แต่ไม่ทำก็อาจจะได้ แต่ทำดีกว่า)

  • อ่าน magazine สถาปัตย์ เสพย์ข้อมูลสถาปัตย์ เพิ่มความรู้ เช่น https://dreamaction.co/8-best-architecture-websites/
  • ไปเรียนติวความถนัดทางสถาปัตย์
  • ฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ตอนเรียนปี 1 เป็นต้นไป เช่น โปรแกรมเขียนแบบ ขึ้น 3D model แต่งภาพ และ จัดรูปเล่ม Portfolio >> ดูเพิ่มที่นี่ https://dreamaction.co/digital-tools-programs-in-architecture-workflow/

 

อื่นๆ

ส่วนน้องคนไหนที่สอบติดแล้ว แต่อยากจะเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน ก็แนะนำให้ไปดูบทความนี้ค่ะ DIY Crash course ตอนปิดเทอม : ก่อนเริ่มเข้าเรียนสถาปัตย์ (ปี 1) จริงๆแล้วหนังสือในบทความนี้จะช่วยเติมความรู้ให้เต็มเกี่ยวกับเรื่องของพื้นฐานการออกแบบอีกด้วย