มีน้องหลายคนที่เพิ่งสอบติดคณะสถาปัตย์หลายมหาวิทยาลัย ถามจอมมาว่า “จะเตรียมตัวยังไงตอนปิดเทอมก่อนจะเปิดเรียนเพื่อเพิ่มความพร้อมในการเข้าเรียนได้?”” ก่อนอื่น ยินดีกับน้องที่กำลังจะก้าวเข้ามาสู่วงการสถาปัตยกรรมนะคะ! และดีใจที่น้องสนใจอยากเตรียมตัว เป็นสิ่งที่ดีเลิศประเสริฐศรีมากค่ะ
ถ้าบุคคลทั่วไปใครสนใจอยากได้ความรู้ทางสถาปัตย์แบบพื้นฐาน ก็สามารถดูได้ค่ะ แต่มันสำหรับ ปี 1 จริงๆ ไม่ได้ใช้เตรียมสอบ ในบทความนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบความถนัดทางสถาปัตย์เลย อย่าเอาไปเตรียมสอบนะ ;D
วันนี้จอมเลยมาสรุปหัวข้อ และแหล่งข้อมูลที่จะให้น้องๆไปศึกษากันเองในช่วงปิดเทอม ซึ่งจะแบ่งเป็นระดับด้วยว่า จัดเต็ม ไปจน จัดเบาเบา.. เราทำแค่ไหน เริ่มอันไหนก่อนดี
สิ่งที่เตรียมได้ก่อนเข้าเรียนจะเป็นการดีคือ…
- เตรียมองค์ความรู้พื้นฐานทางการออกแบบ (เตรียมไปบ้าง ก็ไม่เสียหาย ดีกว่าไปถึงห้องเรียน แล้วงง นี่มันอะไรกัน?!! จุด เส้น ระนาบ แล้วไง อะไรยังไง?)
- เตรียม Skillset ฝึกความพร้อมทางการใช้เครื่องมือในการออกแบบ เขียนแบบ และ Graphic Production (ทั้งด้านมือ และ คอมพิวเตอร์)
- ฝึกเรื่องการจัดการเวลา Time Management / Planning (จริงๆตอนเข้าไปเรียน ก็จะเจอเองว่าถ้าไม่จัดการเวลาดีดี จะส่งงานไม่ทัน และสุดท้ายอาจจะต้องเผางาน ถ้าไม่รีบก็ไปเจอเอาตอนนั้นก็ได้ แต่ถ้าจะทำ ก็ง่ายๆ แค่วางแผนว่า ปิดเทอมนี้จะทำอะไรบ้าง วันไหน ยังไง เป้าหมายแต่ละอาทิตย์คืออะไร แล้วพยายามทำให้ได้ แล้วลองดูว่าเราทำได้ตามนั้นจริงไหม อาจจะทำให้ความชิลในชีวิตลดลงไปสำหรับหลายๆคน แต่บางทีมันทำให้เราแบ่งเวลาเที่ยว เวลาพักได้ชัดเจนขึ้น ไม่ได้แค่เที่ยวจน ไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย)
- เตรียมใจ (จริงๆ สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเข้าเรียนเลย คือ ทั้งเตรียมตัว และ เตรียมใจค่ะ ว่าพอเริ่มเรียนแล้ว จะไม่มีความชิลเข้ามาแบบเมื่อก่อนที่มันพอมี หรือที่คิดว่าไม่มีก็จะยิ่งไม่มีหนักกว่าเดิมจ้า… ตอนนี้ก็ Relax ได้ แต่เตรียมความพร้อมไปด้วยจะได้ไม่ไปงงตอนเข้าเรียนเหมือนจอมตอนแรกแรก โหย คือ งง ปรับตัวปรับใจแทบไม่ทันเลย)
เตรียมตัว !!
ทีนี้มาเข้าเรื่องของการเตรียมตัวว่า มันต้องฝึกตน และเตรียมความรู้อย่างไรบ้าง แบ่งได้เป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ความรู้ (Design Foundationและ ทักษะ ค่ะ!!อันนี้จอมจะตอบเป็น VDO เพราะน่าจะเข้าใจง่ายกว่า แต่ว่าก็เตรียม Diagram สรุปไว้ให้ดูข้างล่างไปโหลดเก็บกันไว้ได้ค่ะ
100% – จัดหนักจัดเต็ม
สำหรับคนที่อยากเตรียมตัวแบบจัดหนักจัดเต็ม ทั้งหมดที่เตรียมได้ คือ..แบบ 100% แบบนี้ค่ะ
รายชื่อ ลิงค์ที่เข้าไปศึกษาข้อมูลดังกล่าวก็เช่น
- ศึกษาเกี่ยวกับสถาปนิกที่ได้รับรางวัล Pritzker Prize ที่เรียกได้ว่าคืองานโนเบลในสายสถาปัตยกรรม Pritzker Prize สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากสถาปนิกคนไหนดี ไม่ต้องคิดมาก เริ่มจากดูว่าแต่ละปีมีใคร และรู้จักงานเค้าคนละงานสองงาน และดูว่าทำไมเค้าเจ๋ง เท่านี้แหละ สองอาทิตย์ ความรู้ก็อัดแน่นละ
- Website อื่นๆที่เข้าได้ทุกวัน บังคับตัวเองนิดนึง ไปนี่เลย รวมไว้ให้หลายเวบมากค่ะ 10 เว็บไซต์สถาปัตย์ดีดี ที่สถาปนิกควรเข้าทุกวัน!
- เรื่องของโปรแกรมอะไรบ้างจะแยกไปพูดในอีกบทความนึงนะคะ โปรดติดตาม “TOOLS for Architecture มารู้จัก เครื่องมือทางสถาปัตย์แบบ digital กัน!!” ให้แค่เบื้องต้นไปในวีดีโอก่อน
70% – เบาเบาเอาเน้นเน้น
แต่ถ้าอยากรู้ว่าอะไรที่เป็น Priority หรือสิ่งที่สำคัญกว่าทีต้องเริ่มก่อน เอาแค่ 70% นี้ค่ะ ข้ามเรื่องของHistory ไปได้ค่ะ แต่สิ่งที่สำคัญคือยังต้องเน้นในเรื่องการสร้างพื้นฐานทางการออกแบบ และความรู้ทั่วไป ไปจนถึงการฝึกใช้เครื่องมือค่ะ
40% – ขำขำเบาเบา
แต่ถ้าไม่อยากเอาอะไรเยอะจริงๆ ก็ไปนี่ 40% ไปฝึกเครื่องมือแค่แบบ 2D แล้ว 3D ค่อยไปเริ่มตอนปิดเทอมสั้น แต่ระวังตอนเริ่มเรียนจะฝึกไม่ทันเอานะคะ แต่ความรู้ทั่วไปก็ยังคงเก็บได้ค่ะ ตามนี้
Checklist ช่วย keep track
ลองเอา Checklist นี้ไปช่วยเตือนช่วยเช็คดูว่าเราทำสิ่งนี้ไปรึยังในแต่ละอาทิตย์ก่อนจะเริ่มเรียนสถาปัตย์ก็ได้
จอมหวังว่าบทความและวีดีโอนี้จะช่วยให้ทิศทาง และข้อมูลในการเตรียมตัว หาความรู้ สำหรับน้องๆที่กำลังจะเริ่มเข้าไปเรียนปี 1 และ เพื่อนๆที่สนใจเรื่องความรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมนะคะ แล้วจอมจะมาอัพเดท ตอนที่ 2 ต่อในเรื่องของ เครื่องมือdigital ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ค่ะ ซึ่งจะเป็นส่วนต่อเรื่องในเรื่องของการฝึกทักษะ การใช้เครื่องมือค่ะ
รอติดตามนะคะ! ;D