6 คำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ ก่อนเข้าสถาปัตย์

มีน้องๆหลายคนอยากจะเข้าสถาปัตย์ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลุย ลองถามตัวเองให้แน่ใจกับ 6 คำถามนี้ที่ถ้าเราตอบได้ มันจะทำให้พลังและความมั่นใจในการเดินมาสายนี้ แน่นและStrongขึ้นอีกมาก (และถ้าตอบไม่ได้ น้องก็จะหาคำตอบตอนนี้แหละ เดี๋ยวก็มั่นใจ) หรือ เราอาจจะพบว่า เฮ้ยมันไม่ใช่

ความจริงจะเป็นไง เราลองมาเริ่มจากตอบ 6 คำถามนี้ให้ได้ดูดีกว่า

1. ทำไมอยากมาเรียน?

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์อะไรกัน คำถามแรกก็เจอท่ายากแล้วเหรอ อันนี้นี่จัดว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุดเลยนะคะ และต้องตอบให้ได้ เพราะว่าถ้าเราไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ พอตอนเข้าไปเรียนจริงๆ หรือเจอปัญหาคนไม่เห็นด้วย เราจะไปต่อไม่ถูกค่ะ

เหตุผลในการอยากจะมาเรียนเราควรจะตอบตัวเองให้ชัดเจน ไม่ได้ต้องบอกใคร นอกจากมีคนถาม (แต่เค้าอาจจะถามได้ ตอนไปสัมภาษณ์นะ) ถ้าเรารู้คำตอบดีแล้ว เราจะไม่ลังเลที่จะทำ มันเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุด แล้วเราจะพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่ต้องทำเพื่อไปถึงเป้าหมายค่ะ ดังนั้น ตอบตัวเองให้แน่ใจ

สิ่งที่ไม่ควรใช้เป็นเหตุผลคือ เพื่อนชวนไป คนอื่นบอกว่าดี(ถามมาด้วยว่าดียังไงนะ) จบไปสบายแน่เรา หรือ มันเท่ดี (ชีวิตจริง สถาปนิกไม่ดูดีดั่งในละครเลยจ้ะ)

2. เข้าใจความแตกต่างระหว่างแต่ละสาขาไหม

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง และ ออกแบบอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี่ เราเข้าใจไหมว่ามันต่างกันยังไง?

ที่บอกว่าให้เข้าใจ เพราะบางที เราอาจจะรู้จักแค่สายเดียว แล้วคิดว่าเราเหมาะและชอบที่สุด ทั้งที่จริงๆแล้ว อาจจะมีอะไรที่โดนใจเรายิ่งกว่านั้น หรือเราทำได้ดียิ่งกว่าแต่เราไม่รู้ว่ามีมันอยู่บนโลก หรือถ้าเรามีเงื่อนไขอื่นๆทางบ้าน ทางฐานะ สมมติบ้านมีธุรกิจโรงงานผลิตอะไรสักอย่าง เฮ้ย บางทีการที่ไปเรียน ออกแบบอุตสาหกรรม เราอาจจะมาใช้ประโยชน์จากของเดิมที่ที่บ้านมีได้แล้ว แถมเราก็ชอบด้วย (รึเปล่า ?)

แต่ในทางกลับกันก็ไม่ได้แปลว่า เรามีทุนเดิมอยู่แล้วจะต้องทำอะไรให้ใกล้ทุนเดิมไปซะหมด ถ้าความตั้งใจของเรามันไปไกลกว่าแค่สิ่งที่มีในมือ สมมติอีกครั้ง คือ บ้านเรามีโรงงาน(คนเดิมน่ะแหละ) แต่อยากไปเรียนสถาปัตยกรรม เพราะอยากสร้างอาคารที่ดีต่อคนและสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานได้ อยากสร้างพื้นที่ดีดีให้คนไปใช้ คือเรามีภาพในใจ มี Mission ที่ยิ่งใหญ่ และไฟในใจมันบอกว่า เราต้องทำว่ะ อันนั้นก็ ดูให้ดีดี แต่อย่าลืมว่าเรามีทุนอะไรเสมอ มันอาจจะช่วยเราได้แม้ในเรื่องเล็กน้อย

3. ชอบงานไหน แบบไหนก็ได้ เพราะอะไร

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์บอกว่าอยากเข้าคณะนี้ สายนี้ ว่าแต่เรารู้จักดีไหม ว่างานสายนี้คืออะไร ทำอะไรบ้าง หรือ งานออกแบบที่เราชอบ โดนใจ และนึกได้ก่อนเลย คืองานแบบไหน บางทีสิ่งที่เราสนใจ หรือ นึกได้ก่อนมันอาจจะเป็นสิ่งที่เราน่าจะไปทำมันหรือเปล่า? (ลองถามตัวเองดู)

เลือกงานได้แล้ว มาลองถามตัวเองหน่อยว่า เพราะอะไร? ทำไมชอบ? ลองคอนเฟิร์มว่า มันสวยดี หรือเราอยากทำอย่างนั้นได้ อันไหนที่เออ สวยดีชอบ แต่ไม่อยากทำหรอกนะ อันนั้นแปลว่าไม่ใช่ทางเราเท่าไหร่ แต่ถ้า เอออยากทำได้บ้างว่ะ อันนี้เริ่มมีทรงที่ดี ทิศทางที่ดีเริ่มมาแล้ว

การรู้จักงานมากขึ้นทำให้เราแน่ใจได้มากขึ้นด้วย ว่าเราชอบอะไร อย่างที่บอกไปในข้อ 2 น่ะแหละ ว่าเข้าใจความแตกต่างของสาย ที่เราก็สามารถเรียนรู้ได้จากการมองงานที่เราชอบ และค่อยมาดูก็ได้ว่ามันคือสายไหน บางทีมันอาจจะไม่ใช่อย่างที่คิดว่ามันเป็นก็ได้ เช่นบางคน ชอบเหมาว่าทุกอย่าง คืองานสถาปัตยกรรม ซึ่งจริงๆแล้วมันอาจจะเป็นงาน ภูมิสถาปัตยกรรม งานภายใน หรือ ผังเมืองก็ได้นะ

4. รู้จักสถาปนิกคนไหน

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์ต่อยอดจากข้อ 3 ว่าเรามีพื้นฐานความรู้สักนิดไหม ในสิ่งที่เรากำลังจะเอาตัวเข้าไปอยู่กับมันถึง 5 ปี (ใช่ค่ะ สถาปัตย์น่ะเรียน 5 ปีนะเธอ)

หลายคนบอกว่า ข้อนี้หลายคนก็ไม่ได้ตอบได้ก่อนเข้ามาเรียนสถาปัตย์ อันนี้จริง แต่ว่าหลายคนก็ตอบได้ก่อนเข้ามา มันเป็นอีกสิ่งที่พิสูจน์ว่าเราสนใจมันแค่ไหน มีอะไรบันดาลใจเราไหม มันเป็นอีกเหตุผลรึเปล่าที่ทำให้เราอยากมา และการที่เรารู้จักสถาปนิกในใจ หรือสนใจใครสักคน มันทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า จบไปแล้ว มันจะมีบทบาทประมาณนี้ในสังคมนะ ไม่ใช่แค่มองว่า เข้ามหาวิทยาลัยได้ ในคณะที่ชื่อสถาปัตยกรรมศาสตร์ แล้วจบ

ลองไปศีกษาเพิ่มเติม ถ้าเรายังไม่มีใครในใจ มีแหล่งมากมายให้หา จะไปดูตามเว็บสถาปัตย์ก็ได้ หรือไปดูตามร้านหนังสือ

สมัยจอม จอมอาจจะรู้ว่าตัวเองชอบสถาปัตย์ตั้งแต่ตอน ก่อนเข้าม.1 แต่ว่าจอมไม่รู้จักคนออกแบบบ้านที่จุดประกายจอมเลยนะ แต่จอมแค่ยังจำภาพนั้นได้เท่านั้นเอง แต่พอเข้ามา ม.4 จอมอ่านหนังสือ Art4D แล้วก็อ่านงานไปเรื่อยๆ จอมชอบงานของ Calatrava งานแรกที่ตั้งใจจำชื่อสถาปนิกและชื่องานเลย มันเป็นภาพติดตา ลองหาภาพแรกในใจของเราดูค่ะ รับรอง โตไปจะไม่เสียใจ ที่เราเลือกภาพแรกในใจด้วยตัวเราเอง (ไม่ต้องรอเข้าปี 1 เพราะมันจะเยอะจนจำไม่หมด ฮ่าๆๆๆ)

ใครรู้บ้างว่ารูปข้างบนคือสถาปนิกชื่ออะไร สร้างงานอะไรมาบ้าง? ไม่รู้ไปดูเพิ่มได้ที่ หน้ารวมบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม

 

5. รับงานหนัก นอนน้อยได้ไหม

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์งานหนักเป็นสัจธรรมของการเรียนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หนักในที่นี่มีผลคือ นอนน้อย เวลาไม่ตรงกับชาวบ้านคณะอื่น อันนี้ไม่มีโบ้ย ไม่มีทางลัด ถ้าหาทางลัดก็จบมาแบบรั่วๆ เพราะมันจะไม่เก่งจริง มันเป็นกระบวนการที่จำเป็นที่ต้องทำและผ่านไปให้ได้ (เช่น พวกคนที่ไปจ้างมือปืนมาทำงานแทน อันนี้จบไปสกิลไม่มี มีแต่อำนาจในการใช้ชาวบ้าน พ่อแม่ไม่ควรส่งเสริมลูกในด้านนนี้ เพราะจะได้แต่ปริญญา ไม่มีวิชาติดมา)

สถาปัตย์งานหนัก ต้องใช้การบริหารเวลาที่ดี ที่เราต้องมาฝึกฝนมันจะทำให้เราต้องหัดจัดการเวลา

งานที่ได้มาบางทีก็เยอะกว่าเวลาที่ได้รับ ไม่นับว่างานมันไม่ใช่นับ 1-10 แล้วเสร็จ แต่ต้องมาทำการคิด และออกแบบที่บางทีไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ยิ่งเราเริ่มเรียนใหม่ๆ เรากะเวลาตัวเองไม่ถูกว่าจะต้องใช้เวลาแค่ไหนในการทำหน้าที่แต่ละอย่าง ก็ต้องใช้เวลาสักพักในการปรับตัว และเข้าใจตัวเองเพื่อเอาไปบริหารเวลาต่อ

ไม่มีภาคไหนหนักน้อยกว่ากัน หนักหมด จอมไม่ได้บอกเพื่อให้กลัว แต่อยากให้แน่ใจ เพราะถ้าเราชอบ เราสนใจจริงๆ เราจะผ่านไปได้

มีเพื่อนหลายคนที่ลาออกไปตอนปี 1 เพื่อไปเข้าคณะอื่น เพราะพอมาเรียนแล้ว มันไม่ใช่ มันหนักไป ทำไมเราต้องมาเสียเวลาให้มันขนาดนี้ หรือ บวกลบคูณหาร ชั่งใจแล้ว คณะนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะทำแล้วว่ะ มันเยอะไป ไม่ใช่แบบที่คิด

ถามตัวเองให้ดี เพราะข้อนี้ก็ทำให้คนลาออกด้วยตัวเองมาหลายคน

6. ใจสู้รึเปล่า (ไหวไหมบอกมาาาา….)

เข้าสถาปัตย์ ต้องรู้ เตรียมเข้าสถาปัตย์ อยากเข้าสถาปัตย์ สอบสถาปัตย์ ความถนัดทางสถาปัตย์เรื่องใจนี่สำคัญ มันคือ เรื่องสุดท้ายแต่เป็นไฟเป็นชนวนอันใหญ่ที่จะพาเราผ่านทุกสถานการณ์ลำบากไปได้ มีน้อยไม่เป็นไร ก็แค่รู้ไว้ ว่าเตรียมไว้หน่อยนะ แต่ถ้ามีแล้ว ก็ดีเลย Maintain มันให้ดี และเตรียมติดเทอร์โบเพิ่มไว้ด้วย

วันที่เราเหนื่อย เราท้อ ข้อนี้แหละคือ Will power ที่จะพาเราเดินต่อ

Done!

6 คำถามนี้ ถ้าตอบได้หมด รับรองว่าภาพมันชัดอยู่แล้ว ว่าเราจะมาทางนี้ ทางไหน หรือไปที่อื่น หากตอบไม่ได้ทั้งหมดลองพยายามหาคำตอบให้ได้ เพราะแม้บางข้อไม่ตอบ เราก็ไม่ตาย แต่ว่าถ้ารู้ไว้ได้ วันที่เราลังเล ลำบาก มันจะมาช่วยเราให้เห็นภาพชัด ว่าเราจะทำมันไปเพื่อะไร

Next…

หลายคนบอกว่า สงสัยในเรื่องอื่นๆเช่น มันจะตกงานไหม ตลาดงานดีไหม อันนี้จอมไม่ได้รวมคำถามไว้ให้ เพราะอันนี้เป็นคำถามที่น้องๆพ่อๆแม่ๆสนใจ ที่เป็นเรื่องของความเป็นไปได้ ความเหมาะสมในการเลือก ไม่ใช่สิ่งที่ต้องตอบตัวเองว่าคณะนี้เหมาะกับตัวเราจริงไหม มันคนละประเด็นกัน แต่คำถามเหล่านั้นก็สำคัญอันนี้เข้าใจ ไว้จอมจะมาตอบให้นอกรอบทีหลังให้หายกังวลใจกันนะคะ