กฏ 3+1 ข้อ ในการแต่งภาพ ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรม ให้เนียน+สวย!!

กฏ 3+1 ข้อ ในการแต่งภาพ ทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรม ให้เนียน สวยสมจริง!!

การทำ ทัศนียภาพในงานสถาปัตยกรรม (Architectural Renderings) ทุกวันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้กันว่า ใช้งาน Digital เยอะเป็นสายหลัก

แต่แม้ว่าจะเป็นสายหลักที่ตลาดต้องการ และสถาปนิกอย่างเราทำกันเยอะแยะ ก็ไม่ได้แปลว่าคุณภาพจะเท่ากันหมด ทั้งๆที่ โปรแกรมก็ใช้โปรแกรมเดียวกัน ส่งจากSketchup, Lumion ออกมาก็มาเข้า Photoshop เหมือนกัน

แล้วทำไมนะ มันยังทำให้งานแต่ละคนออกมาคุณภาพแตกต่างกัน? นอกเหนือจากรายละเอียดของภาพแล้ว…

คุณภาพของงาน ทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่ตัดกันที่ “ความเนียน”กับ“ความงาม”ค่ะ

วันนี้จอมเลยจะมาจับประเด็นเรื่องการพัฒนาการทำ Rendering ให้ดียิ่งขึ้นผ่าน..

  • กฏ 3 ข้อ กับ “ความเนียน” และ “ความสมจริง” ในการแต่งภาพ ทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรม : โดยใช้กฏของ Erik Johansson
  • กฏ 1 ข้อ กับ “ความงาม” และ “ความน่าหลงไหล” ที่อยู่ในภาพ: โดยใช้ตัวอย่าง จากภาพถ่ายของ พี่เบียร์ วรฤทธิ์ อนันต์สรรักษ์ ภูมิสถาปนิกและช่างภาพชื่อดัง ในนาม coolbiere

แต่งภาพ ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรม สวย

กฏ 3 ข้อ | ความเนียน และการแต่งภาพให้เนียน

การที่เราทำ Digital Perspectivesให้มีความสมจริง เนียน ดูแล้ว ไม่หลุด ไม่หลอน เป็นหนี่งในเทคนิคการนำเสนองานที่ “ได้ผล” เพราะพอเป็น Digital จิตวิญญาณของความเป็นเส้นสาย Sketch มันหายไป(อ้าว ก็แน่นอน..) ต่อให้พยายามทำให้เป็นสีน้ำ แต่digital ก็คือ Digital ถ้าไม่ได้รับการสร้างให้ออกมาดีพอ บางทีงานออกมาครึ่งๆกลาง เกือบจะเนียน ก็ทำให้การนำเสนองาน “ไม่ได้ผล” ไปในหลายที

ทำไมต้องสมจริง?

เพราะว่าพอคนทั่วไป ที่แม้จะไม่ได้เป็นสถาปนิก หรือมีความรู้ทางการออกแบบ ก็เข้าใจได้ตรงกัน เอาง่ายๆค่ะ ถ้าเป็นภาพ “เหมือนจริง” เวลาคนมองภาพ คนจะเริ่มหาความสัมพันธ์กับมันง่ายขึ้น ถ้ามันใกล้เคียงกับ “ความเป็นจริง” ที่เค้าเจอที่สุด

ในเรื่องของความเนียน จอมเลยจะยกตัวอย่าง มาสเตอร์ในการแต่งภาพ ที่ทั้งเนียนและเนี๊ยบ เค้าคือ Erik Johansson ที่แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสถาปนิกแต่ตัวอย่างงานของเค้า ไม่แปลกเลยค่ะที่น่าจะเอามาเป็นตัวอย่างของstandard ในการทำภาพให้ “เนียน”

คุณ Erik เนี่ย เค้าเป็นนักแต่งPhotoshop/ช่างภาพ ที่งานของเค้า ไม่ใช่การถ่ายภาพเพื่อเก็บmoment นั้น แต่เป็นการนำเสนอความคิดต่างหาก

เทคนิคที่น่าสนใจ ที่น่าเอามาใช้ คือเทคนิคในการแต่งภาพของErik Johansson งานของเค้า เนียน มากระดับเทพ ลองดูตัวอย่างงานเค้านะคะhttp://www.erikjohanssonphoto.com/#/cut-fold/

ทีนี้ มาดูเทคนิคของเค้ากันค่ะ แล้วลองเอามาปรับใช้ให้สมจริงกัน

กฏ 3 ข้อ ในการแต่งภาพให้เนียน สมจริง!! (Realistic Rendering) ของ Erik Johansson

ภาพนี้คือภาพผลงานตอนเสร็จของ Erik นะคะhttp://www.erikjohanssonphoto.com/#/go-your-own-road/

และ Link นี่คือที่เค้าบรรยายใน TED talk ค่ะ

 

ข้อ 1 “มุม” | Same Perspective

 

ใช้มุมมองทางทัศนียภาพเดียวกัน

เลือกเอาภาพที่ได้ “มุม” เดียวกันเป๊ะมาเลย

ข้อปรับใช้ในงาน สถาปัตยกรรม :

ทีนี้ มันเป็นอะไรที่คลาสสิคค่ะ ว่าถ้าเราทำ Perspective ในมุมตาคนปกติ (Normal Eye Views) เราสามารถหาคนมาวางใส่ได้ไม่ยาก แต่มันจะเริ่มยาก และเนียนยากขึ้นเมื่อเราต้องทำ Bird Eye Views, Worm Eye Views ที่เป็นมุมสูงหรือต่ำกว่าระดับสายตา พอเราเอาคนที่เป็นมุมอื่นมาวาง มันก็จะเริ่มไม่เนียน เพราะคนจะ “ผิด ‘Tive” ค่ะ

ลองกลับไปดูนะคะ เช่น คน รถ ต้นไม้ และ ตึกรอบๆ เราปรับให้มันดูเป็นมุมมองเดียวกันรึยัง

 

ข้อ 2 “แสง” | Same Type Of Light

แสงเดียวกัน

เลือกเอาภาพที่ได้ “แสง” เดียวกันเป๊ะมาเลย

ข้อปรับใช้ในงาน สถาปัตยกรรม :

  • เวลาเราเอา คน รถ ต้นไม้ มาจาก Library เนี่ยบางทีเราไม่ได้เช็คเรื่องของ สี แสง และ เงาละเอียดดีบางทีแสงมาซ้าย หน้าคนควรจะมืดฝั่งขวา..ไอ้คนใน perspective เรามันก็ดัน หน้ามืดฝั่งแดดมา…อันนี้พีคสุด
  • หรือ พอต้องใส่คนเยอะๆ แต่ว่าแต่คนละมาแบบแสงไม่เท่ากัน หน้าเหลืองบ้าง ซีดบ้างขาวบ้าง แม้ว่าคนเราจะสีผิวต่างกัน แต่มันก็มีจุดสมดุลย์ของภาพที่ต้องใช้ “ตา” และ “ความทรงจำจากความเป็นจริง” มาใช้มองค่ะ ว่ามันเนียนไหม
  • หรือ บางที คนสว่างโล่เลย แต่ไปวางเค้าในมุมมืด … มันก็ไม่ใช่

 

ข้อ 3 ไม่มีรอยต่อ | Seamless

 

ไม่รู้มันเริ่มจากตรงไหน…..

ไม่สามารถดูด้วยตาแล้วบอกได้ว่า รอยต่อ ของจุดเริ่ม จุดจบของภาพที่เอามาต่อกัน มันอยู่ตรงไหน

ข้อปรับใช้ในงาน สถาปัตยกรรม :

เราสามารถปรับได้จากการใส่ใจรายละเอียดของ

  • Edge : ขอบรูปที่มาประกอบ อย่าให้มีสีที่ไม่ใช่หลุดมา ไม่มีสีพื้นที่ตัดไม่หมด
  • Blend : ความแข็ง ความอ่อน เช่น ผมคน ถ้าเราตัดคนมาวางแล้วคนหัวมันเหลี่ยมๆ ไม่มีผมนิดหน่อย มันก็เริ่มไม่เนียนแล้ว
  • ปรับ Grain ของภาพ บางทีเราต้องปรับเรื่องความละเอียด ความชัด ความเบลอด้วย บางทีคนอยู่ซะไกล แต่ชัดกว่าข้างหน้า ก็ไม่เนียนแล้ว ต้องดูให้ดีว่า ภาพเราจะไล่จาก grain ระดับไหนเข้าไปค่ะ
  • ปรับ Contrast, Color Balance Desaturation, Noise, Shadow เพื่อให้ทุกอย่างดูลงตัวค่ะ
  • Multiple Photos : ใช้หลายภาพ หลายเลเยอร์ ประกอบจนมันใช่

แต่งภาพ ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรม สวย

กฏ 1 ข้อ | ความงาม แต่งภาพให้สวย

 

ทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรม เป็นเหมือนภาพฝัน ที่แสดงความเป็นจริง ในอนาคต จากการออกแบบของ สถาปนิก

ทีนี้เนี่ย…ถ้าทำออกมาไม่ดี ไม่สวย ก็จะกลายเป็น ภาพ “ฝันร้าย” ของทั้งลูกค้า และ สถาปนิกไปด้วย (ต้องมาแก้ไง 555)

ทีนี้งานเนียนก็เหมือนจริงใช่ไหม แต่ถ้างานสวย งานดูแล้วชวนฝัน อยากเข้าไปอยู่ในนั้นล่ะ? จะต่างจากจริงยังไง?

อ่ะ..ลองนึกนะคะ ถ้าเป็นรูปถ่าย เราถ่ายรูปมามันก็เนียน มันก็สมจริงอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะมันคือของจริง ดูยังไงก็ต้องเชื่อ แต่ว่าบางที รูปนั้นมันก็ไม่ได้ดึงดูดใจ ดูสมจริงแล้วไง? มันขาดอะไรไปนะ ที่แค่ความเนียน มันยังไม่พอ

ความฝัน และ จินตนาการ

คือสิ่งที่จะทำให้งานยิ่งเทพขึ้นไปอีก เหนือไปยิ่งกว่าความเนียน

เรามีอุปกรณ์ มีเครื่องมือที่พร้อมอยู่แล้ว สิ่งที่จะทำให้เราได้ไกลยิ่งขึ้น คือ จินตนาการ

 

การที่เราใช้ “ตา” และ “ความคิด” ในการวางแผนว่าภาพของเราจะออกมาเป็นอย่างไร มีส่วนอย่างมากในการที่จะสร้าง Mood ใหม่ๆ บรรยากาศดีดี ที่จะสะท้อนผ่านมาทางงานของเรา

มาลองดูตัวอย่างจากงานภาพถ่ายของ พี่เบียร์ กันค่ะ

ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรม

ภาพนี้คือภาพ BEFORE ที่พี่เบียร์ถ่ายสดสด ยังไม่แต่งค่ะ ก็ดีของมันอยู่แล้วเนอะทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรมแล้วมาดู AFTER ที่ พี่เบียร์ เค้าเติม”ฝัน” ใส่ “ความรู้สึก” ลงไปในภาพค่ะ จินตนาการ และอารมณ์ของภาพ ที่พี่เบียร์สร้างและใส่เข้าไปเอง ทั้งที่พื้นที่ไม่ได้มีอย่างนั้นให้ โห เห็นแล้วอยากจะพุ่งเข้าไปอยู่ในภาพ!! เฮ้ย มันดู ดราม่า มากอ่ะ..

มีอีกตัวอย่างจากพี่เบียร์

ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรมนี่ภาพก่อนแต่ง ก็สวยแล้วนะ ดูเท่ห์เลย เห็นแล้วคิดไม่ออกว่าจะทำไงต่อ

ทัศนียภาพทาง สถาปัตยกรรม

โอ้ คุณพระ! มุมมองใหม่ในภาพเดิม ดูยิ่งใหญ่ เปลี่ยนอารมณ์ไปจากเดิม คมชัด เต็มไปด้วยพลัง และมีเรื่องราวที่เปลี่ยนความรู้สึกไปเลย

ทีนี้พอนึกออกแล้วใช่ไหมคะ ว่าพอเป็น ทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรม (Architectural Rendering) เราก็อยากให้คนดูอยากเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั้นจริงๆ ได้ effect แบบนี้ มันเลยต้องมียิ่งกว่า”ความเนียน” มันต้อง “แต้มฝัน” ลงไปค่ะ (ยืมคำพี่เบียร์มา)

นอกจากความเนียน ก็คือ “ความรู้สึก” ที่ต้องใส่ลงไปค่ะ

ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กันนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์กับการลองเอาไป อัพเลเวล งานชิ้นต่อต่อไปของคุณนะคะ

กระบี่อยู่ที่ “ใจ” .. อาวุธของสถาปนิก นั้นไซร้..อยู่ที่”ดวงตา”

การที่เราสังเกต และเรียนรู้จากต่างสาขา มันช่วยให้เทคนิคใหม่ๆได้เยอะมากค่ะ และจริงๆยิ่งสาย Photography นี่ มีความใกล้เคียงกับสถาปัตยกรรมมาก เพราะเราใช้ “ตา” เหมือนกันค่ะ

ติดตาม

  • ภาพถ่ายของ พี่เบียร์ วรฤทธิ์ อนันต์สรรักษ์ ที่ให้แรงบันดาลใจ ด้านความงาม สถาปัตยกรรม และรูปถ่ายงามๆทั่วโลก ได้ที่ https://www.flickr.com/photos/coolbiere/
  • ตัวอย่างของวิธีการแต่ง Photoshop ของคุณ Erik ไปดูต่อได้ที่ เวบไซท์ของErik Johansson เลยค่ะ บางอันเค้ามี Behind the scene ให้ดูด้วยว่าทำยังไง http://www.erikjohanssonphoto.com
  • ส่วนกฎ 3 ข้อนี้ สามารถไปดูในการบรรยายของเค้าได้ที่TED Talk ค่ะ

Credit resources ที่มาของรูป :

ขอบคุณพี่เบียร์ ที่เอื้อเฟื้อ อนุญาติให้ลง ตัวอย่างภาพสวยสวยค่ะhttps://www.flickr.com/photos/coolbiere/

Reference information :

http://www.erikjohanssonphoto.com
Ted talk