สถาปัตยกรรม : เล่นซ่อนหา กับ Richard Meier ณ Getty Center

อาทิตย์ที่แล้ว จอมมีโอกาสไปเล่นซ่อนหา เดินดูงาน ริชาร์ด ไมเออร์ ที่เกตตี้เซ็นเตอร์ มาค่ะ รูปอาจจะไม่สวยมาก เที่ยวนี้ใช้ไอโฟนล้วนๆ

Meier’s White

เราก็รู้กันดีว่า สถาปนิก ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) มีงานสถาปัตยกรรมสีขาวเนี๊ยบเป็นลักษณะเฉพาะที่เปรียบได้กับเป็นลายเซ็นเค้าเลยทีเดียว (Meier White)แต่ สำหรับเกตตี้เซ็นเตอร์ งานนี้ไม่ใช่งานขาวปกติของไมเออร์ แต่เป็น “Off white” นอกนั้นยังใช้หินTravertineที่เป็นขาวนวลอีกด้วย ซึ่งเป็นงานพิเศษที่เรียกได้ว่า แหกกฎของความเป็นริชาร์ด ไมเออร์ไปเลยทำไมน่ะเหรอ? ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะเป็นงาน public ที่มีผลต่อเพื่อนบ้านรอบด้านค่ะ ถ้าใช้สีขาวประจำตัวจะทำให้จ้า (glare) และเป็นการสร้างมลภาวะทางตาให้กับประชาชน และไม่เหมาะกับพื้นที่นั่นเอง งานนี้จึงเป็นอะไรที่แปลกตาจากทุกงานของเค้าเลยค่ะ

สถาปัตยกรรม Richard Meier getty

 

เกตตี้เซ็นเตอร์..คือ อะไร?

เกตตี้เซ็นเตอร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ และ ศูนย์วิจัยทางศิลปะค่ะ (มี Museum, Getty Research Institute (GRI), the Getty Conservation Institute, the Getty Foundation, and the J. Paul Getty Trust) ตั้งอยู่บนยอดเขาแถว ซานต้า โมนิก้า หรือ ถ้าอ้างอิงง่ายๆก็ใน กรุง ลอสแอนเจลิสค่ะ จากตำแหน่งที่ตั้ง เกตตี้เซ็นเตอร์เป็นที่ที่มีสุดยอดของวิวที่การชมเมือง เรียกได้ว่าในมุม 360 นี่เห็นตั้งแต่ภูเขา เมือง ชายทะเล ไปจนทะเลเลยทีเดียว

นอกจากงานนี้เป็นงานของสถาปนิกระดับโลกแล้ว ตำแหน่งที่ตั้งยังเป็นที่ชมวิวที่ไม่ควรพลาดเลย ไปแอลเอทั้งที จะไม่ไปก็คงไม่ได้แน่นอนค่ะ ยิ่งงานนี้เป็นงานที่ขนาดใหญ่มาก งานแรกของไมเออร์ (ปกติเค้าทำงานเล็กกว่านี้ค่ะ) ทำให้มีดีเทลให้ตามแอบดูเหมือนเล่นซ่อนหา แถมยังมีเรื่องแปลกตา แปลกใจหลายอย่าง ให้เดินตามดู เค้าบอกว่างานนี้สำหรับไมเออร์ เหมือนออกแบบเมืองเล็กๆอีกเมืองหนึ่ง ไม่ใช่แค่การออกแบบตึกค่ะสถาปัตยกรรม Richard Meier

 

ไมเออร์ กับแรงบันดาลใจในการออกแบบ

Sense of place

สถาปัตยกรรมของเกตตี้ที่ออกมาหน้าตา และเป็นแบบนี้ได้ เพราะไมเออร์ เค้ามาซึมซึบ และศึกษาพื้นที่โดยลงมาอยู่เองเลยค่ะในช่วง 8 ปีของระหว่างการออกแบบ ริชาร์ดไมเออร์จะมาพักอยู่ที่บ้านพักที่เขาลูกฝั่งตรงข้ามเพื่อมองเข้ามาที่พื้นที่โครงการไป ออกแบบไป โอโห นี่มัน ideal จริงสถาปัตยกรรม Richard Meierภาพที่เห็นนี่คือ เขาฝั่งตรงข้ามที่ไมเออร์เคยมาอยู่ แต่บ้านนั้นเค้าทุบทิ้งไปแล้วค่ะ ตอนช่วงที่โครงการกำลังจะสร้างเสร็จ เพราะเค้าไม่ต้องใช้แล้วโครงการนี้ใช้เวลาออกแบบทั้งหมดถึง 8 ปี ก่อสร้างอีก 8 ปี เพราะมีรายละเอียดและการประสานงานที่ซับซ้อนใช่…16 ปีงานนี้ใช้เวลาเกือบ 16 ปีเลยค่ะ

Modern Monumental

ไมเออร์อยากสร้างงานนี้ให้มีกลิ่นอายความอลังการแบบสถาปัตยกรรมโรมยุคโบราณ แต่สะท้อนความทันสมัยของกรุงลอสแอนเจลิสเลยเข้าใจเลยว่าการที่เค้าเลือกใช้ Travertine จากอิตาลีนี่มันสะท้อนความรู้สึกส่วนนั้นได้มาก แต่มันปรับเป็นสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่โดยการออกแบบspace และ form แบบ modern ไปจนถึงการใช้วัสดุ ที่เค้าใช้การขัดเรียบ และแทรกจุดที่เป็นความหยาบเข้าไปเพื่อเน้นเป็นส่วนๆ มันคือ ไมเออร์คนเดิม ในไอเดียใหม่ ที่อลังการแต่เข้าไปถึงหัวใจงานนี้ลบคำว่า เย็นชาแบบโมเดิร์น ไปเลย เอ..ถ้าไมเออร์มาได้ยินไม่รู้จะยินดีรึเปล่านะ แต่งานนี้เดินแล้วมีความสุขนะ มันสัมผัสได้ถึงธรรมชาติ ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรม Richard Meier

California Style of Freedom

เนื่องจากไมเออร์เป็นคนที่มาจากนิวยอร์ค ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของอเมริกา (หรือที่คนเรียกกันติดปากว่า East coast) เค้าเลยต้องทำงานศึกษาสไตล์การใช้ชีวิตของคนแคลิฟอร์เนีย เพื่อออกแบบให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนที่นี่ เค้าจับเรื่องของ Freedom ของคนที่นี่ค่ะ จึงออกแบบให้คนเคลื่อนตัวในไซท์แบบ “ตามใจ” (Openess of the movement) และการจัดตัวอาคารที่มีความOrganic คนมีอิสระในการเดิน แต่ไม่ใช่ว่าไม่คิดทางเดินนะคะ คือ คิดทางเดินและชี้นำแบบแนบเนียนโดยที่เราเหมือนไปเอง ไม่มีใครบังคับค่ะ แต่จะไปทางไหนก็ได้ค่ะ สถาปัตยกรรม Richard Meier

สถาปัตยกรรม Richard Meier

Design Adventure

หาสีขาว..ของไมเออร์

ใช่ว่าโปรเจคนี้จะไม่มีสีประจำตัวของเค้า เอาจริงๆไมเออร์ซ่อน “สีโปรด”ของเค้าเอาไว้เพียบ แต่แค่ไม่ทำให้มันเยอะ จนกลบขาวประจำโครงการที่ไมเออร์ก็เลือกเองอีกนั่นแหละจะว่าไปเค้าก็เอาแต่ใจนะ แต่เราก็สนุกกับการเดินแอบดูว่าเค้าซ่อนสีขาวไว้ตรงไหนบ้าง ฮ่าๆๆสถาปัตยกรรม Richard Meierภาพข้างล่างคือ Meier White กับ Off White จากแคลดดิ้งและหิน Travertine ค่ะสถาปัตยกรรม Richard Meier

หาสี…ม่วง!!

สิ่งที่แปลกตา และแปลกใจในงานนี้คือ เทรลลิสสีม่วง (trellis คือ ที่เราเรียกกันว่า ศาลา ระแนงไม้)ที่เห็นแล้วหลายคนอาจจะโยนว่า…เฮ้ยยย ไม่ใช่ไมเออร์ เฮียเค้าต้องสีขาวดิ จะบ้าเหรออออือม…ใช่!! ไมเออร์ใช้สีม่วงเอง จริงๆค่ะ 555สถาปัตยกรรม Richard Meierเค้าบอกว่า จากการที่ดูพื้นที่โครงการมา พรรณไม้พื้นถิ่นคือ ลาเวนเดอร์ ซึ่งมีสีม่วงค่ะ เค้าเลย…ไม่ใช้ต้นลาเวนเดอร์ค่ะ แต่ทาสีม่วงแบบลาเวนเดอร์ให้เทรลลิสแทน !!!! แล้วเค้าก็ปลูกไม้เลื้อยที่มีดอกสีขาวต่อค่ะ (เค้าใช้ Wisteria ค่ะ)ตอนเห็นนี่ จอมขำก๊ากเลย คือ…ไม่รู้จะเรียกกว่า ลุงเค้า กวน ดื้อ หรือ ยังไง แต่ก็ดีนะ ตลกดี เออ ดอกไม้ขาวอยู่ดี (อ๋อ แต่ในรูปคือไปตอนหน้าหนาว มันเลยไม่ค่อยมีใบค่ะ ไม่มีดอกด้วย)เป็นไมเออร์ ต้องขาวจริงๆ ฮ่าๆๆสถาปัตยกรรม Richard Meier

ตาม…แสงธรรมชาติ

งานนี้ ไมเออร์เล่นกับการใช้แสงธรรมชาติเยอะมาก และมีการใช้ Courtyard ให้คนมาหยุดดู นั่งเล่น และเป็นที่รับแสงธรรมชาติสถาปัตยกรรม Richard Meierเอา Pavillion แยกออกมา เป็นจุดสนใจใหม่ของspace สถาปัตยกรรม Richard Meier

หาContrast

Contrast of texture นี่เป็นเทคนิคที่เค้าใช้ในงานนี้เยอะมาก ทั้งพื้นและผนัง
สถาปัตยกรรม Richard Meierตัวอย่างการสร้างcontrastระหว่างผนังเรียบกับหินแบบ natural finish ที่ยื่นออกมาจากกำแพงแบบ 3-6 นิ้วเลย(มีหลายขนาด) เรียกได้ว่า จะยื่นมาทั้งที ต้องมั่นใจ!! ไม่ได้ออกมาแค่ เซ็นเดียวนะเรียกได้ว่า ไม่ต้องเอางานศิลปะมาวางตรงนี้ แต่ผนังเค้าได้จัดสรรใส่งานไปแล้ว สถาปัตยกรรม Richard Meierสถาปัตยกรรม Richard Meierนอกจากนั้นยังเล่นกับการตัดกันของเส้นและรูปทรง(form) คือ อยู่ดีดีก็แอบมีฟอร์มเอียงโผล่มาแบบตั้งใจสถาปัตยกรรม Richard Meier gettyหรือบางที่เพิ่ม Pattern จากไม้เลื้อยมาสถาปัตยกรรม Richard Meierทำให้จอมอดคิดไม่ได้เลยว่า งานนี้ สถาปัตยกรรมก็เหมือนเป็นอาร์ทแกลลอรี่ด้วยตัวมันเอง สถาปัตยกรรม Richard Meier

Landscape

ในช่วงปีนี้ แคลิฟอร์เนียประสบปัญหาน้ำแล้งใหญ่มากค่ะ ทำให้เค้าไม่เปิดน้ำในโครงการนอกจากตรงสวนแค่จุดเดียวเท่านั้น ทำให้เห็นเลยว่า การออกแบบที่คิดถึงความงาม ทั้งตอนที่เปิดและไม่เปิดน้ำเนี่ยสำคัญมาก อันนี้เป็นส่วนที่สถาปนิกออกแบบค่ะสถาปัตยกรรม Richard Meierจอมเดินมาก็ประทับใจในงานนี้มากนะคะ ทั้งspace และบรรยากาศ และวิวดีมาก เป็นงานที่ดีมากงานหนึ่งเลยค่ะ ชอบหมดยกเว้นสวนข้างนอกบางส่วนค่ะสถาปัตยกรรม Richard Meierเนื่องจากจอมเป็นภูมิสถาปนิกจะไม่พูดถึงแลนสเคปเลยก็กะไรอยู่ แถมพอพูดแล้วบอกว่าไม่ชอบงานนี้อีก งั้นขอพูดอีกนิดเดียวแล้วกัน 555

งานนี้…ไมเออร์ออกแบบสถาปัตยกรรมและกำหนดพื้นที่สำหรับสวนไว้ค่ะ และกำหนดให้เก็บทางน้ำที่ไหลผ่านไว้ตรงกลาง courtyard ที่เป็นความคิดที่ดีมากที่เก็บรักษาทางน้ำไว้และให้พื้นที่กว้างตรงกลางระหว่างสองตึกให้ที่เหมือนตึกโอบล้อมพื้นที่courtyard นี้ไว้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ดีมากค่ะ เค้าเว้นที่นี้ไว้ให้มาออกแบบแลนสเคปต่อแต่ในการออกแบบจริงทางGettyเค้าให้ Artist ที่ชื่อ Robert Irvine มาทำสวนค่ะ ซึ่งคุณโรเบิร์ตก็ไม่ได้เป็น ภูมิสถาปนิก แต่เป็นศิลปินสวน เกตตี้จอมว่า ส่วนตัวจอมไม่ชอบสวนนี้และการออกแบบสวนนี้เท่าไหร่ จะหาข้อเสียพูดได้มากกว่าข้อดี เพราะออกแบบพืชพรรณได้มั่วและไม่น่าประทับใจ พร้อมกับเลือกฟอร์มมาใช้ตรงกลางได้ขัดกับความโมเดิร์นอย่างไม่แนบเนียนเอาซะเลย
สวน เกตตี้แต่ส่วนที่ชอบก็มีนะ จอมชอบตรงผนังขนาบทางลาด (ramp) ที่ทำจาก Corten steel มันเท่ห์ดี สวน เกตตี้กับตรงน้ำที่ไหลลงมา เค้าคิดมาว่าตรงไหนน้ำเสียงดังโดยการปล่อยให้น้ำตกผ่านหินใหญ่ๆ และพอลงมาตรงปลาย หินเรื่มเล็กจนละเอียด จนเสียงเบาลง จอมว่าส่วนนี้ดีค่ะ สวน เกตตี้แต่พอลงมาตรง ล่างสุดตรงบ่อใหญ่ตรงกลางเท่านั้นแหละ โห….คือ..เชยอ่ะ..เอาตรงๆ ไม่มีอะไรจะพูดต่อ 555สวน เกตตี้แล้วศิลปินคนนี้เค้าก็ตั้งใจออกแบบมาให้พอคนมาในสวน คนจะลืมตึกไปเลยค่ะ ซึ่งสถาปนิกก็ไม่ชอบเท่าไหร่แต่ถ้าถามจอม จอมว่า..มันควรจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ส่งเสริมกันมากกว่า ในกรณีนี้ ไม่ใช่มาแยกกันแต่ตอนที่ลงมาตรงจุดไฮไลท์ มองกลับไป มันดูไม่เข้ากับเกตตี้เอาซะเลยสถาปัตยกรรม richard Meierงานนี้เลยไม่อยากพูดถึงlandscapeมากค่ะ เอาเป็นว่างั้นๆ มาที่โครงการนี้ มาเดินดูสถาปัตยกรรมอย่างเดียวก็คุ้มแล้วค่ะ

 

สำหรับจอม จอมว่าที่นี่คือ หนี่งในสถานที่ท่องเที่ยว ที่ดีที่สุด ใน ลอสแอนเจลิส ไม่ว่าจะสำหรับนักออกแบบ หรือ คนธรรมดาทั่วไป มีนักท่องเที่ยวมาเยอะมากค่ะ และคนที่จอมมาด้วยก็เป็นวิศวกร นางพยาบาลไม่ได้มีความสนใจทางสถาปัตยกรรมใดใด แต่เค้าสนุกกับการเดินชมศูนย์นี้ โดยเฉพาะตอนเห็นไมเออร์ซ่อนสีขาวประจำตัวไว้ แล้วเราหาเจอกัน 😀

สถาปัตยกรรม Richard Meier gettyไปที่นี่สะดวก มีที่จอดรถข้างล่าง และเค้าจะมีรถไฟโมโนเรลเหมือนในสวนสนุกพาเราขึ้นไปที่ศูนย์บนยอดเขา รถไฟฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ เสียแค่ค่าจอดรถถ้ามีโอกาสมาลอสแอนเจลิส แนะนำเลยค่ะ Getty Center ดีที่สุด!!!!

ไว้จะพาเที่ยวเชิงออกแบบใหม่โอกาสหน้าค่ะ ชอบไม่ชอบบอกกันได้นะคะ

สถาปัตยกรรม Richard Meier getty แปลน