สวัสดีค่ะ ชื่อตา ปณิธาน กาสินพิลา เป็นบัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม หลักสูตร 5ปี วันนี้จะมาแชร์ ประสบการณ์การทำทีสิส Amphibious Culture: Harmonizing Between Life and Seasonally Flooded Forest หรือ Seasonal Flooded Landscape and Resilient Community (ASLA Awards of Excellence 2016),(ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม หมู่บ้านปากยาม ลุ่มนำ้สงครามตอนล่าง)
ความสนใจในการทำทีสิสเรื่องนี้ เริ่มจากอยากทำเรื่องที่แปลกแตกต่างไปจากทีสิสที่รุ่นก่อนๆ และบังเอิญ“คุณพ่อ” เป็นคนอีสาน มีบ้านเกิดอยู่แถวลุ่มแม่นำ้สงครามตอนกลางซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่โขง เป็นอาณาบริเวณป่าที่เรียกว่า “ป่าบุ่งป่าทาม” ของลุ่มแม่นำ้สงคราม คงเคยได้ยินเป็นเรื่องเล่ามานานจึงเกิดสะดุดเกิดความสนใจขึ้นมา
เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักซึ่งรวมถึงตัวตาเองด้วย จากนั้นจึงเริ่มศึกษาป่าบุ่งป่าทามเพื่อ นำมาทีสิส จนกระทั่งนำไปส่งประกวด ASLA Student Awards 2016 และรวมไปถึงได้รางวัล Award of Excellent : Analysis and Planning ในปีนี้ค่ะ
หลังจากที่หาข้อมูลและปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อ.ดนัย ทายตะคุ และอ.กิ่งแก้ว เมธชนัน ตาได้ลงพื้นที่ไปดูไซต์บริเวณลุ่มแม่นำ้สงคราม ป่าบุ่งป่าทาม เพื่อที่จะเลือกพื้นที่specific ว่าจะเอาบริเวณไหนมาทำทีสิส จากการวิเคราะห์พบว่า มีสามบริเวณที่น่าสนใจ ตาจึงเดินไปดูsite ทั้ง 3 พื้นที่ ในจังหวัดนครพนม เป็นบุญวาสนาของตาแท้ๆ เมื่อลงพื้นที่ได้เจอกับ ดร.กาญจน์ หงษ์มณีรัตน์ ผู้ซึ่งเป็นญาติและอาจารย์มหาวิทยาลัยนครพนม นักวิจัยทางด้านป่าบุ่งป่าทามและลุ่มแม่นำ้โขง ให้บทวิจัยและเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับป่าบุ่งป่าทาม คอยแนะนำและให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อพื้นที่โครงการ ทำให้สามารถเข้าพื้นที่หมู่บ้านปากยามได้อย่างง่ายดายมากขึ้น และมีท่านผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านปากยามคือผู้ใหญ่ทอง พาพายเรือชมป่าบุ่งป่าทาม ดูชาวบ้านจับปลาในแม่น้ำสงครามด้วยเครื่องมือแบบต่างๆ เดินชมการทำปลาร้าในหมู่บ้าน และ เดินเข้าป่าไผ่กะซะซึ่งเมื่อตอนหน้าน้ำจมอยู่ใต้น้ำแต่ตอนหน้าแล้งสามารถเดินหาหน่อไม้ได้ ฯลฯ
จากการลงไปดูพื้นที่และการวิเคราะห์ ตาได้เลือกพื้นที่หมู่บ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เนื่องจากมีข้อมูลแน่น พื้นที่มีประวัติกว่า100-200ปี มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติมายาวนาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน รวมถึงมีพื้นที่ป่าบุ่งป่าทามที่ถูกทำลายและป่าบุ่งป่าทามที่หลงเหลืออยู่ และที่สำคัญเป็นบ้านญาติของตา(บ้านป้าสาคร) อยู่ในหมู่บ้านนี้ เป็นบ้านที่ขายปลาร้า ปลาร้าบอง เจ้าดังริมแม่นำ้สงครามอีกด้วยค่ะ
Project Statement
ป่าบุ่งป่าทาม ลุ่มแม่น้ำสงครามเป็นระบบนิเวศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า “Seasonal Floodplain Forest” เป็นป่าไม้ที่ราบน้ำท่วมถึง ในฤดูฝนจะเกิดนํ้าหลากเป็นระยะ 3-4เดือน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง ในฤดูแล้งเมื่อระดับน้ำลดลงเกิดตะกอนดินอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์มาใช้บริการเชิงนิเวศน์ ปัจจุบันป่าบุ่งป่าทามถูกทำลายจากการสัมปทานไปทำฟืนเผาถ่าน การบุกรุกพื้นที่ของกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมเกษตร ทำให้ระบบนิเวศน์เสียหาย ดังนั้นศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม หมู่บ้านปากยาม ลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการเป็นศูนย์ศึกษาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ทำให้คนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม แล้วเกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่ในป่าบุ่งป่าทามอย่างถูกต้อง รวมถึงสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวภูมิทัศน์วัฒนธรรม
Site Location and Macro Analysis
พื้นที่โครงการอยู่ที่หมู่บ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บริเวณลุ่มแม่นำ้สงคราม
Section of the Ecosystem
ป่าบุ่งป่าทาม ลุ่มนำ้สงครามตอนล่าง ได้รับเป็นพื้นที่ชุ่มนำ้โลกแห่งที่ 15 ของประเทศไทย ให้เป็นแรมซาร์ไซด์ (Ramsar Sites)อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ จากกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-World Wide for Fund) ทำงานร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในการขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซด์ เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลานำ้จืดอันอุดมสมบูรณ์ที่สำคัญของแม่นำ้โขงกว่า 200 ชนิด มีความสำคัญในระดับโลก เป็นแหล่งผลิตปลานำ้จืด 90% ของประเทศไทย และที่สำคัญยังเป็นแหล่งปัจจัยสี่ อาหาร วิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อย่างมหาศาล
Annual Climate and Programs
เนื่องจากสถาพภูมิอากาศตามฤดูกาลทำให้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นของมนุษย์เป็นไปตามฤดูกาล ร้อยเรียงสัมพันธ์กันจนกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน นำ้หลากคือปลามา นำ้ลดคือดินอุดมสมบูรณ์ ป่าบุ่งป่าทามเปรียบเหมือนแหล่งอาหาร รายได้ และซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้านก็ว่าได้
Phasing of Seasonally Flooded Forests’ Restoration
ขั้นตอนการฟื้นฟูป่าบุ่งป่าทาม โดยเริ่มจากปลูก pioneer species หรือ native species นั่นคือ ไผ่กะซะ เป็นพืชโตเร็วและปรับตัวกับสถาพนำ้หลากได้ดี จากนั้นจึงปลูกไม้ต้นทนนำ้ เช่นต้นกระโดน กระเบานํ้า แสง ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไป ฤดูกาลจะกระตุ้นให้ป่าบุ่งป่าทามฟื้นตัวด้วยระดับนำ้ที่ท่วมถึง ระยะเวลานำ้หลาก และsedimentที่มาตกตะกอน เป็นเวลา5ปีเป็นต้นไป ป่าบุ่งป่าทามจึงจะเริ่มฟื้นสภาพขึ้นมา
Site Analysis
จากการวิเคราะห์ทางด้านความชัน ระบบทางนํ้า พื้นที่นำ้หลากภายในsite ลักษณะเฉพาะของภูมิประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยทางระดับความสูงกับระดับที่นำ้หลากท่วมถึง ทำให้ทราบลักษณะ Landscape characterและ Vegetation ซึ่งเป็นผลให้ทราบว่าพื้นที่ใดควรฟื้นฟูและฟื้นฟูเป็นพืชพรณลักษณะไหน มีarea ประมานเท่าไหร่
Masterplan and Planning
จากการวิเคราะห์พื้นที่ ช่วยในการวางผังโดยรวม ทำให้แบ่งพื้นที่และจัดโซนขึ้นกับรอยต่อของนํ้าหลากที่ท่วมถึงเป็นจุดสำคัญการวางอาคาร ,stationต่างๆ และcirculation
Village, Information Center and Homestay
Design Presentation
สามารถติดต่อตาได้ที่ panitankasin@gmail.com
Thesis Advisor : อาจารย์ ดร.ดนัย ทายตะคุ และอาจารย์ กิ่งแก้ว เมธชนัน
Additional Credits
อาจารย์ ผศ. ดร. อังสนา บุณโยภาส
อาจารย์ชล ศุภวงศ์
อาจารย์ ผศ. สิรินทรา วัณโณ
อาจารย์ภาวิณี อินชมภู
ดร.กาญจน์ หงษ์มณีรัตน์
พ่อ แม่ พี่เพ็ญ พี่แต้ม อาอี๊ และ แอม ตวง อุ๋ย แก้ม จอม พิริมาย หมิว